Thursday, December 9, 2010

Gregor Mendel:เกรกอร์ เมนเดล

Gregor Mendel


เกรกอร์ เมนเดล







------------------------------------------------------------------------



อะไรทำให้คนเรามีผมสีแดง ตาสีฟ้าหรือจมูกสีขาว บัดนี้เรารู้แล้วว่าหน่วยถ่ายพันธุ์ของเราทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ในทุกๆเซลล์ของร่างกายของเราถ้ามีหน่วยถ่ายพันธุ์ ซึ่งทำให้เราเป็นดังที่เราเป็นอยู่ การศึกษาเรื่องหน่วยถ่ายพันธุ์เหล่านี้และอิทธิพลของพวกมันที่มีต่อบุคลิกลักษณะของเราเรียกว่า วิชาว่าด้วยการถ่ายพันธุ์ และบิดาแห่งวิชานี้คือ เกรเกอร์ เมนเดล



เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล เกิดในปี ค.ศ. 1822 ที่ไฮน์เซนดรอฟ ประเทศออสเตรีย เป็นบุตรชายคนเดียวในจำนวนพี่น้อง 3 คน ของชาวนายากจนชาวโบฮีเมียน เขาได้รับการศึกษาเพราะการช่วยเหลือจากเงินของพี่สาว พอเงินหมด เขาจึงต้องบวชเพื่อให้ได้ศึกษาต่อ ในปี 1847 โดยรับหน้าที่รับผิดชอบดูแลสวน และพืชพันธุ์ไม้ของวัด อันเป็นแรงดลใจในการค้นคว้าของเขาอย่างยิ่ง



ในปี 1852 เจ้าอาวาสของวัดได้ส่งบาทหลวงเกรเกอร์ไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา และได้รับปริญญาทางด้านธรรมชาติวิทยา ในปี 1854 และเข้าสอนเป็นครูผู้ช่วยที่ดี แต่ก็ไม่สอบผ่านในการที่จะเป็นครูโดยเต็มตัว



บาทหลวงเกรเกอร์เผชิญกับความพลาดหวังอย่างอดทนเป็นเวลาถึง 20 ปี ที่เขายังคงสอนหนังสือในฐานะครูผู้ช่วยและเพื่อชดเชยกับความผิดหวัง เขาจึงได้ทุ่มเทเวลาว่างทั้งหมดโดยทำงานในสวนของวัด ที่นั่นมีพืชพันธุ์ไม้มากมาย แต่ละชนิดแตกต่างกันไปหลายอย่าง ความแตกต่างกันนี้ ทำให้บาทหลวงเกรเกอร์นึกสงสัย เขาจึงผสมพันธุ์ถั่วพันธุ์เดียวกันและต่างพันธุ์ เป็นจำนวนแตกต่างกันถึงยี่สิบสองชนิดของต้นถั่ว เพื่อศึกษาลักษณะทั้งหมด เขาศึกษาเมล็ด ดอก และความสูงที่เติบโตและจากเวลาแปดปีเต็มในการทำงานและการทดลองหลายพันครั้ง บาทหลวงเกรเกอร์พบสามสิ่ง



สิ่งแรก เมื่อผสมพันธุ์ถั่วชนิดต่างกันสองชนิดผลผลิตต่อมาที่ได้เป็นพันธุ์ชนิดเดียว ยกตัวอย่าง ถ้าหากเขาผสมพันธุ์ถั่วเมล็ดสีเหลืองกับชนิดเมล็ดสีแดง มันจะผลิตพันธุ์เมล็ดสีเหลืองออกมา



ต่อไป เมื่อผสมพันธุ์ต่างชนิดกันของผลผลิตรุ่นแรกรุ่นต่อไปจะมีเมล็ดทั้งสองชนิด ต้นที่มีเมล็ดสีเขียวทุกๆต้น จะมีสามต้นที่มีเมล็ดสีเหลือง นี่เป็นเพราะว่าหน่วยถ่ายพันธุ์ที่ผลิตเมล็ด สีเหลืองเป็นหน่วยถ่ายพันธุ์ที่สำคัญคือ โดมิแนนท์ยีน หน่วยถ่ายพันธุ์ที่ผลิตเมล็ดสีเขียวเรียกว่า รีเซสซีพยีน หรือหน่วยถ่ายพันธุ์ตัวรอง



สิ่งที่สาม ถ้าหากเขาผสมพันธุ์ถั่วต่างชนิดกันด้วยถั่วสองชนิด หรือมากกว่านั้นที่มีลักษณะแตกต่างกัน เขาจะค้นพบกฎข้อที่สาม สมมติว่าเขาผสมพันธุ์ถั่วที่มีเมล็ดเรียบสีเหลืองกับพันธุ์ถั่วที่มีเมล็ดหยาบสีเขียว รุ่นแรกเมล็ดเรียบสีเหลืองจะเป็นตัวเด่นในรุ่นต่อไป จะมีอัตราส่วนเมล็ดเรียบสีเหลือง 9ส่วนต่อ 3ส่วน เมล็ดหยาบสีเขียว เมล็ดหยาบสีเหลืองหนึ่งต่อหนึ่งเมล็ดหยาบสีเขียว



เมนเดลทราบว่า การค้นพบของเขาสำคัญมากสำหรับผู้ที่ผสมพันธุ์พืช และสัตว์ เขาได้เขียนเรื่องราวเหล่านี้ ส่งไปยังสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งหนึ่ง แต่ไม่มีใครสนใจแม้แต่น้อย เมนเดลจึงเลิกล้มความพยายามที่จะตีพิมพ์งานของเขา เขาเก็บรายงานไว้ในห้องสมุดของวัดและทำการทดลองต่อด้วยตนเองอย่างเงียบๆ ในส่วนสำนักสงฆ์ จนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1884 หลังจากนั้นอีก 16 ปี คือในปี ค.ศ. 1900 นักวิทยาศาสตร์เมนเดล จึงได้ตีพิมพ์เผยแพร่ และก็มีการทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยอาศัยการค้นพบของเกรเกอร์ เมนเดล ผู้ซึ่งตัวเขาเอง ในสมัยที่มีชีวิตอยู่ไม่เคยได้รับการยกย่องจากสิ่งนั้นเลย

Guglielmo Marconi:กูกิลโม มาร์โคนี

Guglielmo Marconi


กูกิลโม มาร์โคนี









---------------------------------------------------------------------



นักประดิษฐ์ชาวอิตาลี ผู้ได้รับสิทธิบัตรในการค้นคว้าการส่งโทรเลขไร้สายเป็นคนแรกเมื่ออายุเพียง 22 ปี และเป็นเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ.1909 และได้รับการยกย่องอย่างสูงจากทั่วโลกในสิ่งประดิษฐ์อันมีประโยชน์ของเขา



กูกิลโม มาร์โคนี เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1874 ที่โบโลนา ประเทศอิตาลี มีบิดาเป็นชาวอิตาลี มารดาเป็นชาวไอริช เขาได้รับแรงดลใจจากการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของคลาร์ค แม๊กซ์เวลล์ และการทดลองการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวดของไฮริช เฮิร์ท นักวิทยาศสตร์ชาวเยอรมัน



หลังการค้นพบของเฮิร์ทไม่นานเด็กหนุ่มชาวอิตาลีชื่อ กูกิลโม มาร์โคนี ซึ่งศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยโบโลนา ในประเทศอิตาลี ได้พบปะกับนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งซึ่งเคยทำงานกับเฮิร์ทในเยอรมัน งานของเฮิร์ททำให้มาร์โคนีเกิดจินตนาการ เขาได้สร้างเครื่องรับวิทยุอย่างง่ายๆ ไว้ในห้อง 2 ห้องที่บ้านของบิดา และในไม่ช้าเขาก็สามารถส่งสัญญาณข้ามห้องจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่งได้ เขาพบว่าถ้าเขาสร้างเสาอากาศให้สูงขึ้น เขาจะสามารถส่งสัญญาณของเขาได้ไกลขึ้นด้วย



ในปี ค.ศ. 1895 เมื่อเขาอายุได้ 21 ปี เขาส่งสัญญาณไปไกลถึง 1.5 กิโลเมตร เขาเห็นความสำคัญของการค้นพบนี้ การทดลองต่อต้องการทุนทรัพย์แต่ไม่มีใครสนใจในเรื่องนี้นัก เมื่อเขาไม่ได้รับการสนับสนุนในอิตาลีจึงเดินทางสู่ลอนดอน เมื่อปี ค.ศ. 1896 การไปรษณีย์ของอังกฤษให้ความช่วยเหลือและด้วยการปรับปรุงวิธีการของเฮิร์ทในหลายๆ ด้าน เขาเริ่มสามารถส่งสัญญาณไปไกลๆ ขึ้นในปี ค.ศ. 1899 เขาส่งสัญญาณจากสถานีหนึ่งทางฝั่งด้านใต้ไปยังสถานีในฝรั่งเศส ซึ่งไกลออกไป 50 กิโลเมตร และที่ระยะ 150 กิโลเมตรได้สำเร็จ



เจ้าของเรือเริ่มติดตั้งเครื่องมาร์โคนีในเรือเดินทะเลของเขา หลายคนรู้สึกประทับใจเมื่อเรือที่กำลังเดินทางในกู๊ดวินแซนด์ในทะเลเหนือได้รับการเตือนให้ทราบถึงภัยอันตรายด้วยคลื่นวิทยุจากมาร์โคนี ทำให้เรือกับลูกเรือทุกคนปลอดภัย


กูกิลโม มาร์โคนี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1937

Hippocrates:ฮิปโปเครติส

Hippocrates


ฮิปโปเครติส







------------------------------------------------------------------------



ฮิปโปเครติส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนายแพทย์คนสำคัญคนแรกในยุคก่อนคริสตกาล เกิดที่เกาะคอส ประเทศกรีก เมื่อประมาณ 460 ปีก่อนคริสตกาล นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์รู้ประวัติของเขาน้อยมาก ทราบแต่เพียงว่าบิดาของเขาก็เป็นแพทย์เช่นกัน ผู้คนในสมัยกรีกโบราณมีความเชื่อมั่นในตัวฮิปโปเครติสมากจนมีคำกล่าวกันว่า เขาถูกเทพเจ้าแห่งแพทย์ของกรีกคือ “อีสคัลเลเปียส” ส่งลงมาเกิด



ฮิปโปเครติส เริ่มงานแพทย์ของเขาที่กรุงเอเธนส์ โดยเดินทางไปรักษาคนไข้ในที่ต่างๆเขาไม่เชื่อเรื่องเวทมนต์และไม่เคยใช้เครื่องลางหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในการรักษาคนไข้ ที่มักจะทำกันในสมัยนั้น แต่จะทำการรักษาคนไข้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์เท่าที่จะทำได้ เขาจะเขียนอธิบายอาการของผู้ป่วยและวิธีการรักษาไว้อย่างละเอียด และเป็นคนแรกที่คิดว่าการศึกษาเกี่ยวกับเชื้อโรคจะต้องมีวิชาวิทยาศาสตร์เป็นรากฐาน และจากหลักฐานและข้อเขียนเหล่านี้ทำให้เราทราบว่าเขามีความละเอียดถี่ถ้วนและมีความชำนาญทางด้านการแพทย์มาก มีมาตรฐานในการทำงานสูง เขาจะอุทิศชีวิตของเขาในการรักษา จนได้ชื่อว่า “บิดาแห่งวิชาแพทย์”



ฮิปโปเครติส ถึงแก่กรรมขณะมีอายุเกือบถึง 100 ปี

Tuesday, December 7, 2010

Isaac Newton:เซอร์ ไอแซค นิวตัน

Isaac Newton


เซอร์ ไอแซค นิวตัน







--------------------------------------------------------------------------------



นักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ และเชื่อในเรื่องทฤษฎีที่ว่าดวงอาทิตย์มีอิทธิพลต่อดวงชะตาของคน และชอบศึกษาเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุที่เราทราบกันว่าเป็นเรื่องไร้สาระ นักวิทยาศาสตร์คนเดียวกันนี้เองที่ค้นพบกฎของของแรงโน้มถ่วง และพัฒนาคณิตศาสตร์แขนงใหม่คือ “แคลคูลัส” ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อวิทยาศาสตร์แขนงใหม่ทุกแขนง



เซอร์ ไอแซค นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 1642 ที่ลินคอล์นเชียร์ ประเทศอังกฤษ ในสมัยที่เป็นเด็กไม่ค่อยสนใจต่อการเรียนนัก ชอบทางด้านเครื่องกล แต่พออายุ 15 ปี เขากลับเอาใจใส่ต่อการเรียนมากขึ้น แต่พอบิดาของเขาถึงแก่กรรมลง มารดาก็ตั้งใจที่จะให้เขาทำงานในฟาร์มเหมือนกับบิดา แต่เขาไม่ชอบ



ไอแซค นิวตัน เป็นคนไม่ชอบเพื่อน ฉะนั้นเขาจึงมีเวลามากพอที่จะหมกมุ่นกับตำราเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกๆใหม่ๆเป็นต้นว่า โรงสีลมเล็กๆซึ่งใช้กำลังงานจากกระแสลมทำให้เครื่องจักรหมุน และสร้างนาฬิกาน้ำโดยให้หยดลงมาในถังแล้วสังเกตระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นมา



พอนิวตันจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อปี 1665 เขาทำงานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยนี้ พอเกิดโรคระบาดมหาวิทยาลัยจึงต้องปิดชั่วคราว นิวตันจึงกลับไปทำงานส่วนตัวที่บ้าน ในช่วงเวลานั้นเป็นระยะที่เขาได้ความคิดเกี่ยวกับงานสำคัญของเขาในเวลาต่อมาหลายเรื่อง เมื่อเขาทำงานเงียบๆด้วยตังเอง คิดถึงสิ่งต่างๆที่เขาสังเกตและสามารถเห็นเหตุผลที่ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งคนอื่นเห็นเป็นเรื่องธรรมดา เช่น การสังเกตการหล่นของแอปเปิล ที่ทำให้เขาได้ความคิดเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นแรงดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกและเป็นแรงที่ทำให้โลก ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และดาวต่างๆอยู่ในระบบสุริยะ คนทั่วไปมองเห็นสีของรุ้งกินน้ำในท้องฟ้า แสงที่เราเห็นว่าไม่มีสีหรือที่เรียกว่า มีสีขาวเกิด จากสีรุ้งนั้นเอง



นิวตันเป็นคนที่อ่อนไหว เขาไม่ชอบการขัดแย้งกันและมักจะโกรธต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เขาไม่ได้ตีพิมพ์เรื่องแรงโน้มถ่วงเป็นเวลาหลายปี ในระหว่างนั้นเขาได้ศึกษาวิธีที่ สร้างกล้องโทรทรรศน์ และเมื่อเขากลับไปที่ เคมบริดจ์ เขาได้สร้างกล้องโทรทรรศน์แบบใหม่มีตัวสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์นี้ ทำให้เขามีชื่อเสียงและได้รับเชิญให้เข้าร่วมราชสมาคมซึ่งเป็นสมาคมชั้นนำของนักวิททยาศาสตร์ในประเทศอังกฤษ แต่โรเบิร์ต ฮุค ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสมาคมได้วิจารณ์ความคิดของเขาเกี่ยวกับธรรมชาติของแสง นิวตันและฮุค จึงไม่เคยเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเลย



นิวตัน ยังมีสิ่งที่อยู่ในความสนใจนอกเหนือไปจากวิทยาศาสตร์ เขาได้เป็นสมาชิกรัฐสภาในช่วงเวลาสั้นๆ จากนั้นในปี 1699 เขาได้เป็นหัวหน้ากองกษาปณ์ ของราชสำนัก ซึ่งผลิตเหรียญที่ใช้กันในประเทศ



ถึงแม้เขาจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ แต่เขาก็มีความคิดบางอย่างที่แปลกประหลาด เช่น เขาเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ เชื่อในเรื่องทฤษฎี ที่ว่าดวงดาวมีอิทธิพลต่อโชคชะตาของคน เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งเชื่อกันว่าสามารถเปลี่ยนโลหะ เช่น ทองแดงเป็นทองคำได้ในสมัยนิวตันผู้คนมีความเชื่อกันเช่นนี้มากซึ่งปัจจุบัน เราทราบว่าเป็นเรื่องไร้สาระ



ไอแซค นิวตัน เป็นบุคคล ที่มุ่งทำประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่าชีวิตของตนเอง เขามีความสูขอยู่กับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ และการคำนวณภายในห้องทดลองของเขายิ่งกว่าสิ่งอื่นใด เขาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น “เซอร์” เมื่อมีอายุ 60 ปีแล้ว



เซอร์ไอแซค นิวตัน ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 84 ปี และถูกฝังในสุสานวิหารเวสมินสเตอร์ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นอนุสาวรีย์ของเขาตั้งอยู่ แม้ว่าทุกคนจะระลึกถึงเขาว่าเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่ง แต่ตัวเขาเคยพูดว่า “ฉันมองได้ไกลกว่าคนส่วนใหญ่ก็เพราะฉันยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์”

Ivan Petrovich Pavlov:อิวาน พาฟลอฟ

Ivan Petrovich Pavlov


อิวาน พาฟลอฟ







--------------------------------------------------------------------------------



อิวาน พีโตรวิช พาฟลอฟ นักวิทยาศาสตร์และนักจิตวิทยาชาวรัสเซียที่สำคัญคนหนึ่ง เขาได้ชื่อว่าเป็นบิดาของวิชาจิตวิทยาสมัยใหม่ จากการศึกษาการทำงานของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและระบบประสาททำให้เขาพบสาเหตุที่ทำให้มนุษย์และสัตว์ มีพฤติกรรมต่างๆ



เขาเป็นผู้ตั้งทฤษฎี การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ซึ่งมีหลักการว่า “ การเรียนรู้เกิดจากการที่ร่างกายได้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้หลายๆชนิด โดยที่การตอบสนองอย่างเดียวกัน อาจมาจากสิ่งเร้าต่างชนิดกันได้” หากมีการวางเงื่อนไขที่แน่นแฟ้นเพียงพอ อิวาน พาฟลอฟ เกิดเมือปี ค.ศ. 1849 ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย บิดาเป็นนักบวชมีฐานะยากจน ต้องทำการกสิกรรม ควบคู่กับการเป็นนักบวช



เมื่ออายุได้ 8 ปี อิวาน พาฟลอฟ ก็ล้มเจ็บเนื่องจากระบบหายใจ นักบวชรูปหนึ่งซึ่งเป็นพ่อทูล หัวของเขาได้นำเขาไปที่สำนักสงฆ์ใกล้ๆ บ้าน เพื่อให้การดูแลและรักษาจนเขาหายป่วย นักบวชรูปนั้นได้ชักจูงเขาให้ดำเนินชีวิตเรียบง่ายแบบเดียวกับท่าน คอยสอนหนังสือและให้คำแนะนำในการศึกษาจนเขาสามารถเข้าโรงเรียนและเป็นนักเรียนที่เก่งที่สุดในชั้นเรียน วิชาที่อิวาน พาฟลอฟ สนใจที่สุดคือ สรีระวิทยา และได้เข้าศึกษาต่อในระดับที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก จนได้ปริญญาทางวิทยาศาสตร์และได้ใบรับรองให้เป็นแพทย์ได้ ในปีค.ศ. 1891



อิวาน พาฟลอฟได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการทางสรีระวิทยา ที่สถาบันทดลองทางการแพทย์ในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก และใช้เวลานั้นในการศึกษาระบบการย่อยอาหารในมนุษย์ และสัตว์ และได้แต่งตำราเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารจนได้รับรางวัลโนเบล แต่หลังจากนั้นเขาก็ได้เปลี่ยนแนวการวิจัยไปศึกษาเรื่องสมองและระบบประสาท ที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์



อิวาน พาฟลอฟ รู้ว่ามนุษย์และสัตว์ จะมีปฏิกิริยาโต้ตอบโดยอัตโนมัติเมื่อได้รับสิ่งเร้าทั้งมีเงื่อนไขและไม่มีเงื่อนไข และพบว่าจะทดลองหลักการนี้กับสัตว์ได้ง่ายกว่ามนุษย์ เพราะมนุษย์สามารถเรียนรู้ที่จะควบคุมปฎิกริยาของตนเองได้ถ้าต้องการ



โดย พาฟลอฟ ได้นำสุนัขมาไว้ในการทดลอง แล้วใช้สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไขคือการสั่นกระดิ่งสุนัขจะกระดิกหาง จากนั้นเขาก็ได้เปลี่ยนสิ่งเร้าใหม่ ใช้สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไขคือ นำเนื้อมาให้สุนัขกิน สุนัขได้ตอบสนองต่อเนื้อคือมีน้ำลายไหล พฤติกรรมน้ำลายไหลของสุนัขเกิดขึ้นตามธรรมชาติในลักษณะไม่มีเงื่อนไข ต่อมามีการสั่นกระดิ่งพร้อมกับยื่นเนื้อให้ สุนัขก็ตอบสนองคือมีน้ำลายไหล



เขาทำเช่นนี้หลายๆครั้ง จนสุนัขรรับรู้ว่าถ้ามีเสียงกระดิ่งแล้วจะต้องมีเนื้อตามมาในลักษณะเป็นสิ่งเดียวกัน จนในที่สุด สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งอย่างเดียวก็ตอบสนองด้วยอาการน้ำลายไหล แสดงว่าเสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้า ที่มีเงื่อนไข ทำให้สุนัขเกิดการเรียนรู้ขึ้นจาการวางเงื่อนไขนั่นเอง อย่างเช่น



เมื่อมีคนถามว่าเคยชิม “มะดัน”หรือไม่ ทันทีที่ได้ยินคำว่า”มะดัน”จะปรากฏว่ามีน้ำลายสอขึ้นในปาก ดังนี้เป็นต้น หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว นักจิตวิทยาหลายคนได้ศึกษาตามแนวคิดของเขา และได้เรียนรู้ถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์มากมาย



อิวาน พาฟลอฟ ถึงแก่กรรมเมื่อปีค.ศ. 1936 ขณะมีอายุได้ 87 ปี

Ivanovich Mendeleev:อิวาโนวิช เมนเดเลเยฟ

Ivanovich Mendeleev


อิวาโนวิช เมนเดเลเยฟ









--------------------------------------------------------------------------------



เมนเดเลเยฟ มีชื่อเต็มว่า ดมิตรี อิวาโนวิช เมนเดเลเยฟ (Dmitri Ivanovich Mendeleev) เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1834 ได้รับการศึกษาวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกจากนักโทษการเมือง ผู้ที่ได้ถูกพระเจ้าซาร์เนรเทศไปอยู่ในไซบีเรีย เขาไม่อาจเข้าไปศึกษาต่อในระดับวิทยาลัยในกรุงมอสโก แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนของบิดาที่มีอิทธิพลให้เข้าไปศึกษาต่อในเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก จนได้เป็นศาสตราจารย์ทางเคมีในวิทยาลัยแห่งนี้ในปี ค.ศ. 1866



ในปี ค.ศ. 1869 เมนเดเลเยฟ ได้ตีพิมพ์ตารางของธาตุที่รู้จักกันในตอนนั้น 63 ชนิด โดยจัดเรียงตามลำดับมวลอะตอม ผลงานของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาเยอรมัน เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้มีโอกาสศึกษากัน ด้วยความสามารถทางด้านเคมีของเขานี่เอง เขาจึงถูกส่งมายังสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาด้านน้ำมันในรัฐเพนซิลวาเนียสำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำมันในประเทศของเขา



เมนเดเลเยฟ ถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ. 1907 ขณะมีอายุได้ 73 ปี

Sunday, December 5, 2010

J. Nicephore Niepce:ยี. แอ็น. นีฟ

J. Nicephore Niepce


ยี. แอ็น. นีฟ




------------------------------------------------------------------------



การถ่ายรูปเป็นศิลปะในการประทับภาพลงบนแผ่นกระดาษโดยใช้เลนส์และแสงช่วย บุคคลคนแรกที่ทำให้ความฝันของมนุษย์ที่จะบันทึกภาพที่ประทับใจและสิ่งที่ควรจดจำได้เป็นความจริงเป็นคนแรกคือ ยี. แอ็น. นีฟ นั่นเอง



ยี. แอ็น. นีฟ วิศวกรชาวฝรั่งเศส เกิดในปี ค.ศ. 1765 เขากับเพื่อนร่วมงานคือ หลุยส์ ดาแกร์ ได้ร่วมงานกัน ภาพแรกที่เกิดขึ้นในโลก คือภาพของหลังคาที่นีฟถ่ายจากหน้าต่างบ้านของเขา เป็นภาพที่ไม่คมชัดนัก และใช้เวลาในการถ่าย (คือให้แสงถูกแผ่นภาพ) นานถึง 8 ชั่วโมง แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการถ่ายภาพ



นีฟถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1833 ก่อนที่งานของเขาจะเสร็จสมบูรณ์ เพื่อนร่วมงานของเขาคือ หลุยส์ ดาแกร์ เป็นผู้สานงานต่อ

James Joule:เจมส์ จูล

James Joule


เจมส์ จูล







------------------------------------------------------------------------



นักวิทยาศาสตร์ซึ่งได้รับเกียรติให้ใช้ชื่อของเขาเป็นชื่อหน่วยของความร้อน ทั้งนี้จากผลงานการค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกลกับพลังงานความร้อน โดยใช้ห้องใต้ดินในบ้านของเขาเอง เป็นห้องทดลอง



เจมส์ เพรสคอท จูล เกิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1818 ที่เมืองซัลฟอร์ด ประเทศอังกฤษ บิดาเป็นเจ้าของโรงต้มกลั่นสุรา เมื่อวัยเยาว์เขาศึกษาอยู่ที่บ้านกับพี่ชายคนโต โดยมีพี่สาวต่างมารดาเป็นคนสอน เมื่อโตขึ้นบิดาได้ส่งไปศึกษาวิชาต่างๆโดยเฉพาะวิทยาศาสตร์กับจอห์น ดาลตัน นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น จากการได้คลุกคลี และการได้รับคำแนะนำจากดาลตันและนำการนำมาทดลองโดยตัวเอง ทำให้จูลมีความสนใจในการวิจัยค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์มากกว่าการต้มกลั่นสุรา



ในปี ค.ศ. 1847 จูลพบว่าพลังงานกลสามารถเปลี่ยนไปเป็นความร้อนได้ เมื่อเขาใช้ค้อนทุบที่ปลายท่อนเหล็กก็จะรู้สึกทันทีว่าร้อน ซึ่งเกิดจากการดูดพลังงานกลจากกล้ามเนื้อที่บังคับค้อนให้ทุบแล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน เขาทำการทดลองหลายครั้งได้ผลสรุปว่า “สมมูลย์กลของความร้อน คือปริมาณของงานที่สิ้นเปลืองไปในการทำให้เกิดความร้อนได้ 1 หน่วยพอดี”



จูลได้รับการยกย่องโดยใช้ชื่อของเขาเป็นชื่อหน่วยของความร้อนโดย 1 จูล= 4.2 แคลอรี่ เขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 1889 เมื่ออายุได้ 71 ปี

James Watt;เจมส์ วัตต์

James Watt


เจมส์ วัตต์





---------------------------------------------------------------------



นักวิทยาศาสตร์ที่เริ่มต้นจากการเป็นผู้ช่วยในห้องทดลอง โดยมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลเครื่องมือวิทยาศาสตร์และจากนิสัยรักการทดลองของเขา ทำให้เขาประสบความสำเร็จในการพัฒนาผลงานดั้งเดิมของนักวิทยาศาสตร์รุ่นพี่ให้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด


เจมส์วัตต์ เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1736 ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศอังกฤษ เขามีนิสัยชอบในการประดิษฐ์คิดค้นมาตั้งแต่เด็กและอยากเรียนรู้ในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์และในการคำนวณ พอรุ่นหนุ่มเขาก็สมัครเข้าเป็นลูกมือช่างเครื่องกลที่บ้านเกิด ในราวปี ค.ศ. 1756 เขาก็ทำงานเป็นลูกมือของศาสตราจารย์คนหนึ่งในมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ และมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลเครื่องมือวิทยาศาสตร์


ในช่วงนั้น โทมัส นิวโคแมน วิศวกรชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรที่ใช้แรงขับเคลื่อนไอน้ำได้สำเร็จ เครื่องจักรของเขาใช้ในการปั๊มน้ำออกจากเหมืองถ่านหิน แต่เจมส์ วัตต์เห็นว่า เครื่องจักรของนิวโคแมนทำงานช้า ในราวปี ค.ศ. 1764 เขาจึงได้เริ่มสานงานโดยการดัดแปลงเครื่องจักรของนิวโคแมนให้ดีขึ้น โดยการพัฒนาให้แกนของลูกสูบหมุนเร็วขึ้นและทำงานได้เป็น 2 เท่าจากเดิม


นอกจากนี้ เขายังคิดค้นหน่วยทางวิทยาศาสตร์สำหรับใช้คำนวณแรงงานขึ้น โดยการใช้ม้าแข็งแรงตัวหนึ่งให้ยกของหนัก 33,000 ปอนด์ เป็นระยะทาง 1 ฟุตใน 1 นาที ให้เรียกแรงงานนี้ว่า หนึ่งแรงม้า ซึ่งในปัจจุบันนี้ 1 แรงม้าก็คืองานที่มีค่าเท่ากับ 33,000 ฟุต/ปอนด์ในหนึ่งนาทีนั่นเอง


ถึงแม้จะไม่อาจนับว่า เจมส์ วัตต์ เป็นผู้สร้างเครื่องจักรไอน้ำขึ้นเป็นคนแรกก็ตาม แต่ก็ต้องนับว่า เขาเป็นผู้วิวัฒนาการเครื่องจักไอน้ำให้ดีขึ้น และเจริญแพร่หลายมากขึ้น



เจมส์ วัตต์ ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ 1819 เมื่อมีอายุได้ 83 ปี

Joharnes Andres Grib Fibiger:โจฮานเนส แอนเดรียส กริบ ฟิบิเจอร์

Joharnes Andres Grib Fibiger


โจฮานเนส แอนเดรียส กริบ ฟิบิเจอร์





 

------------------------------------------------------------------



โจฮานเนส แอนเดรียส กริบ ฟิบิเจอร์ เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน ปี ค.ศ. 1867 ที่เมืองซิลเคบอร์ก ประเทศเดนมาร์ก บิดาของเขาเป็นนายแพทย์ ส่วนมารดาเป็นนักประพันธ์



ฟิบิเจอร์เจริญรอยตามบิดาโดยการเรียนทางด้านการแพทย์ จนไดัรับปริญญาตรีในปี ค.ศ. 1883 และปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1890 จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน จากการค้นคว้าในปี ค.ศ. 1913 เขาได้ค้นพบว่าโรคมะเร็งสามารถเพาะให้เกิดขึ้นได้ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังไม่มีผู้ใดสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างเด่นชัด



เป็นที่เชื่อกันมานานแล้วว่า การเกิดโรคมะเร็งนั้นมีสาเหตุมาจากการที่อวัยวะถูกรบกวนหรือเสียดสี หรือจากความร้อน หรือจากการได้รับสารเคมีกัมมันตภาพรังสี ติดต่อกันเป็นเวลานาน แต่เมื่อทำการทดลองกับสัตว์โดยให้ถูกสารเคมี หรือกัมมันตภาพรังสีด้วยวิธีเดียวกับที่ทำให้คนป่วยได้รับแล้ว การทดลองกลับไม่ได้ผลเพราะสัตว์เหล่านั้นไม่เป็นมะเร็งเลย



ฟิบิเจอร์พบว่าสัตว์จะเกิดมะเร็งได้จากพยาธิขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จากการที่เขาค้นพบว่าหนูสามตัวที่อยู่ในห้องทดลองเป็นเนื้องอกที่กระเพาะ และที่กลางเนื้องอกนั้นเขาพบพยาธิตัวหนอนในวงศ์สไปรอพเทอรา เขาได้ให้หนูที่มีสุขภาพดีกินเนื้องอกที่เอามาจากหนูที่ป่วยซึ่งมีพยาธิหรือไข่ของมัน แต่การทดลองไม่ได้ผลคือหนูไม่ป่วยเป็นมะเร็ง เขาจึงคิดว่าน่าจะมีวัฏจักรที่เกิดในตัวสัตว์อีกชนิดหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นที่ฟักตัวชั่วคราว



ต่อมาเขาได้พบว่าหนูโรงงานแห่งหนึ่งเป็นเนื้องอกและในเนื้องอกนั้นก็มีพยาธิชนิดเดียวกับที่เขาพบเมื่อปี ค.ศ. 1907 ในโรงงานห่งนั้นมีแมลงสาบเป็นจำนวนมากและพยาธิชนิดนั้นอาศัยแมลงสาบเป็นที่ฟักตัว โดยเริ่มจากแมลงสาบกินสิ่งขับถ่ายของหนูที่มีไข่พยาธิเข้าไป ไข่กลายเป็นตัวอ่อนในทางเดินอาหาร และตัวอ่อนก็เข้าไปอยู่ในกล้ามเนื้อโดยสร้างเกราะหุ้มตัวอยู่ เมื่อหนูกินแมลงสาบเข้าไป ตัวอ่อนของพยาธิก็จะเจริญเติบโตเป็นตัวแก่อยู่ในกระเพาะของหนู เมื่อหนูกินแมลงสาบที่มีตัวอ่อนนี้เข้าไป สามารถทำให้เกิดเนื้องอกมะเร็งในหนูได้ นับเป็นครั้งแรกที่ค้นพบเชื้อพยาธิสไปรอพเทอรา คาร์ซิดมา สามารถเปลี่ยนเซลล์ปกติให้กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ในการทดลอง จากการค้นพบของฟิบิเจอร์นั้นเอง นับเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญในการค้นคว้าวิจัยสิ่งต่างๆที่ก่อให้เกิดมะเร็งของนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อๆมา



โจฮานเนส แอนเดรียส กริบ ฟิบิเจอร์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 มกราคม ปี ค.ศ. 1928 ด้วยโรคหัวใจและมะเร็งในลำไส้ใหญ่ เมื่อมีอายุได้ 61 ปี

Johann Gutenberg:โยฮาน กูเตนเบิร์ก

Johann Gutenberg


โยฮาน กูเตนเบิร์ก







----------------------------------



นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ในศตวรรษที่ 15 เขาเป็นผู้ประดิษฐ์ตัวเรียงพิมพ์ด้วยโลหะและเป็นคนแรกที่นำการพิมพ์หนังสือเข้าสู่ทวีปยุโรป หนังสือเล่มแรกของเขาคือหนังสือพระคัมภีร์ภาษาลาติน พิมพ์ในราวปี ค.ศ. 1455