Thursday, July 28, 2011

Albert Einstein อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

Albert Einstein
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์



-------------------------------------------

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์   Albert Einstein ได้ชื่อว่าบิดาแห่งวิชาวิทยาศาสตร์  มีเชื้อยิว-เยอรมัน เป็นผู้ให้กำเนิดระเบิดปรมาณู  เป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎีแห่งความสัมพัทธ์และเป็นผู้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ ในวงการวิทยาศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20  เขาเกิดที่เมืองอูลม์ ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม   ค.ศ. 1879   ปีต่อมาครอบครัวก็ได้ย้ายจากเมืองอูลม์ไปเมืองมิวนิค  อาศัยอยู่ที่นี่จนถึงอายุ 15 ปี   เขามีจิตใจรักในทางดนตรี และสามารถสีไวโอลินได้ดีเมื่อมีอายุแค่ 6 ปี พออายุ 12 ปี   ก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ด้วยตัวเอง เมื่ออายุได้ 15 ปี ได้ย้ายตามครอบครัวจากมิวนิคไปที่มิลาน ประเทศอิตาลี    เขาเรียนเก่งทางด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์  จึงสอบเข้าเรียนที่ The Federal Institute of Technology ในซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้ ทั้งที่ตกวิชาภาษาศาสตร์ สัตวศาสตร์ และพฤกษศาสตร์ หลังจากจบการศึกษาในปี ค.ศ.1900 ก็ทำงานเป็นครูสอนทางไปรษณีย์อยู่ 2 ปี จึงได้งานทำเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี ในสถาบันแห่งหนึ่งในกรุงบอร์น    ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1921 และได้รับเชิญไปปาฐกถาตามประเทศต่างๆ ในปี ค.ศ.1933 ขณะที่เขาอยู่ในสหรัฐฯเป็นช่วงที่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจ และทำการกวาดล้างชาวยิว ไอน์สไตน์ซึ่งมีเชื้อสายยิวจึงถูกปลดออกจากการเป็นพลเมืองชาวเยอรมัน เขาจึงตกลงใจจะอยู่ในสหรัฐฯ โดยทำงานอยู่ที่สถาบันการศึกษาปรินซ์ตัน นิวเจอร์ซี และได้รับสัญชาติอเมริกันในปี ค.ศ. 1941 เขาได้รับการยกย่องอย่างสูงก็ด้วยเหตุที่เขาคิดค้นทฤษฎีแห่งความสัมพัทธ์ ซึ่งเป็นทฤษฎีโดยเฉพาะสำหรับปฏิบัติกับวิชาเคลื่อนที่ของไฟฟ้า และทรรศนศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้ชื่อว่า เป็นผู้มีผลงานสำคัญอันเป็นผลประโยชน์ต่อทฤษฎีแควนตัม และทฤษฎีทั่วไปที่เกี่ยวกับความโน้มถ่วง เขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์ แม้กระทั่งความนึกคิดในสมัยโคเปอร์นิคัส(นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์) ก็ได้ถูกเขาหักล้างหลายประการ ตราบเท่าชีวิตของเขาๆ ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่งวงการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไว้อย่างมากมาย  เขาได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน  ค.ศ. 1955

Alessandro Volta อเล็กซานโดร โวลต้า


Alessandro Volta
อเล็กซานโดร โวลต้า




อเล็กซานโดร โวลต้า  Alessandro Volta  คือ นักฟิสิกส์และเคมีชาวอิตาเลียน  เป็นผู้ค้นพบกระแสไฟฟ้าที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และเป็นผู้ประดิษฐ์แบตเตอรี่ไฟฟ้า จนได้รับเกียรติให้นำชื่อของเขามาเป็นชื่อของหน่วยวัดแรงเคลื่อนของกระแสไฟฟ้าคือคำว่า “โวลต์” เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค. ศ. 1745 ที่ประเทศอิตาลี  เป็นคนเรียนหนังสือเก่งโดยเฉพาะวิชาเคมีและฟิสิกส์จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ประจำวิชาเคมีและฟิสิกส์ ที่บ้านเกิดตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 30 ปีและอีก 5 ปีต่อมาได้เป็นศาสตราจารย์ประจำวิชาปรัชญาธรรมชาติวิทยา ได้พบว่าในความชื้นระหว่างโลหะนั้นจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลได้ จากการเชื่อมปลายโลหะต่างชนิดทั้ง 2 อันเข้าด้วยกัน จากหลักการนี้โวลต้าได้ลงมือประดิษฐ์แบตเตอรี่ขึ้น โดยอาศัยคาร์บอนและสังกะสีมาทำเป็นขั้ว นอกจากแบตเตอรี่ไฟฟ้าแล้ว โวลต้ายังประดิษฐ์สิ่งต่างๆให้แก่วงการวิทยาศาสตร์อีกมาก เช่น ตะเกียงแก๊ส เป็นต้น   จากผลงานเหล่านี้ของเขานี่เอง ที่ทำให้เขาได้รับการยกย่องให้ใช้ชื่อของเขาเป็นหน่วยวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสคือคำว่า “โวลต์” นั่นเอง   ถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ 5 มีนาคม ปี ค.ศ. 1827 ที่อิตาลี เมื่อมีอายุได้ 82 ปี

Alexander Graham Bell อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์

Alexander Graham Bell

อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์




------------------------------------------------

อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์   Alexander Graham Bell นับเป็นตัวอย่างของ นักวิทยาศาสตร์ที่บางครั้งสิ่งที่เขากำลังคิดประดิษฐ์นั้นไม่ประสบผลสำเร็จ กลับไปประสบผลสำเร็จในอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีประโยชน์และสร้างชื่อเสียงให้มากกว่า   แรกเริ่มเดิมที คิดเครื่องมือที่จะทำให้คนใบ้ได้ยินไม่สำเร็จ แต่คิดโทรศัพท์เป็นผลสำเร็จ เป็นต้น   เกิดที่เมืองเอดินเบิร์ก เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1847 บิดาเป็นนักวิทยาศาสตร์  ส่วนมารดาเป็นคนหูพิการ  จึงเรียนรู้และทำความเข้าใจซึ่งกันและกันด้วยภาษาใบ้  โดยบิดาสอนให้สังเกตริมฝีปากของมารดาเวลาพูด  หูของเขายังสามารถแยกแยะความแตกต่างของเสียงที่ใกล้เคียงกันได้อีกด้วย  ซึ่งสิ่งที่ใช้ยืนยันในเรื่องนี้ก็คือ เขาเล่นเปียโนได้ดีเยี่ยมโดยไม่ต้องอ่านโน้ต และเมื่อเขาสังเกตพบว่าเสียงเพลงเกิดจากการสั่นสะเทือน  ก็จึงคิดว่าทำไมเสียงจะเคลื่อนที่ไปบนเส้นลวดบ้างไม่ได้ และคงจะฟังได้ยินในระยะใกล้ได้เป็นแน่  ด้วยความคิดนี้เขาจึงสร้างเครื่องโทรศัพท์ขึ้นใช้เป็นเครื่องแรก   โดยสร้างตัวส่งผ่านซึ่งมีเครื่องพูดลักษณะคล้ายเขาสัตว์เป็นตัวนำคลื่นเสียงไปยังโลหะแผ่นแบนๆซึ่งมีแม่เหล็กอยู่ใกล้และเส้นลวดขดรอบแม่เหล็กนั้น เมื่อคลื่นเสียงจากคำพูดของเขาทำให้โลหะสั่นสะเทือน ความสั่นสะเทือนทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นในเส้นลวดที่อยู่รอบแม่เหล็กแล้วไหลผ่านเส้นลวดอีกเส้นหนึ่งซึ่งต่อไปยังเครื่องรับ ที่เครื่องรับก็จะมีเครื่องคล้ายๆกัน ทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลับไปยังเครื่องเสียงอีกที เครื่องโทรศัพท์จริงเครื่องแรกได้ใช้ในปี ค.ศ. 1876 โดยเบลล์และวัตสันเพื่อนของเขาที่ทำการทดลองร่วมกัน โดยทั้งคู่อยู่ห่างกัน 3 กิโลเมตร สิ่งประดิษฐ์ของเบลล์ทำให้เขาร่ำรวย แต่ในไม่ช้าเขาก็หันกลับไปทำงานให้กับคนหูหนวกอีก เพราะเขาคิดว่าสำคัญกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมด ในปี ค.ศ. 1882 เบลล์แต่งงานกับเมเปิล ฮับบาร์ด ศิษย์หูหนวกของเขา ทำให้เขากระตือรือร้นที่จะประดิษฐ์สิ่งเหล่านี้มากยิ่งขึ้น แต่เขาไม่สามารถประดิษฐ์เครื่องช่วยในการฟังให้คนที่หูหนวกอย่างสนิทได้ แต่ก็สามารถช่วยเหลือผู้ที่แก้วหูเสียหายได้ไม่มากนักให้ได้ยินได้  อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ ใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุขจนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1922

Alexander Flemming อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง

Alexander Flemming
อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง




---------------------------------------------------

บุคคลสำคัญของโลกที่ชาวโลกรู้จักเป็นอย่างดี คือ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง Alexander Flemmi ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมปี ค.ศ. 1881 ที่เมืองดาร์เวล สก๊อตแลนด์ เป็นลูกคนที่ 7 ในจำนวน 8 คนของบิดา ซึ่งเป็นชาวนาและถึงแก่กรรมตั้งแต่เขายังเป็นเด็ก มารดาจึงส่งเขาไปอยู่กับพี่ชายที่กรุงลอนดอน พี่ชายแนะนำให้เขาเรียนแพทย์ ซึ่งเขาก็ทำตามจนได้รับปริญญา แพทยศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยลอนดอน ในตอนแรกๆ ที่ศึกษาวิชาแพทย์ เฟลมมิ่งสนใจเป็นอย่างมาก เกี่ยวกับปฏิกิริยาของแบคทีเรียที่มีต่อเลือด เฟลมมิ่งได้ค้นพบว่าในเนื้อเยื่อต่างๆ และในน้ำย่อยนั้นมีสารที่สำคัญตัวหนึ่งที่สามารถทำลายแบคทีเรียสารตัวนี้เขาตั้งชื่อว่า “ไลโซไซม์ (Lysozyme)” ในขณะนี้เองก็ได้ค้นคิดวิธีที่จะวัดระดับของสารตัวนี้ในเลือดของมนุษย์ และในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งต่อมาเฟลมมิ่งก็ได้ใช้วิธีเดียวกันนี้เป็นเครื่องวัดจำนวนเพนิซิลลิน ในขณะที่เฟลมมิ่งกำลังศึกษาเรื่องเชื้อไวรัสอยู่ เขาได้สังเกตเห็นว่า ราได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญในถ้วยของแบคทีเรียพวกสแตฟไฟโลคอคคัส (Staphylococus) และรอบๆ รานั้น ไม่มีแบคทีเรียเกิดขึ้นเลย เฟลมมิ่งรู้สึกตื้นเต้นมากจึงได้ทดลองต่อไป จนกระทั่งค้นพบว่าราได้ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียพวกสแตฟไฟโลคอคคัส สารที่ผลิตโดยรานี้เขาให้ชื่อ “เพนิซิลลิน” (Penicillin) อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง ได้รับรางวัลโนเบลในปี 1945 และถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจวายในปี ค.ศ.1955

Alfred Bernard Nobel อัลเฟรด เบอนาร์ด โนเบล

Alfred Bernard Nobel
อัลเฟรด เบอนาร์ด โนเบล




----------------------------------------------

อัลเฟรด เบอนาร์ด โนเบล  Alfred Bernard Nobel เป็นวิศวกรชาวสวีเดน ผู้ค้นพบวิธีการทำระเบิดไดนาไมต์ แต่เล็งเห็นความร้ายกาจของมัน เขาจึงก่อตั้งกองทุนเป็นจำนวนเงิน 9,000,000 เหรียญอเมริกาเป็นรางวัลประจำปีสำหรับบุคคลซึ่งทำประโยชน์ให้แก่มนุษยชาติ ในสาขาต่างๆคือ รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์, สาขาเคมี, สาขาแพทย์, และสาขาสรีรศาสตร์, สาขาวรรณคดี,สาขาสันติภาพ  รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์และเคมีทำการแจกรางวัลโดยสถาบัน The Royal Academy of Science ในกรุงสต็อคโฮม ประเทศสวีเดน สาขาแพทย์ แจกรางวัลโดย KAROLINSKA MEDICAL CHIRURGICAL INSTITUTE ในกรุงสต็อคโฮม สาขาวรรณคดี แจกโดยสถาบัน the Swedish Academy ในกรุงสต็อคโฮม และสาขาสันติภาพ แจกโดย the Swedish Parliamentรางวัลโนเบลประกอบไปด้วย เหรียญทองที่ด้านหน้าเป็นภาพของ อัลเฟรด เบอนาร์ด โนเบล พร้อมใบประกาศเกียรติคุณและเงินสด รางวัลนี้ประกาศทุกๆต้นปี แต่จะทำพิธีแจกในวันที่ 10 ธันวาคม อันเป็นวันครบรอบวันตายของอัลเฟรด เบอนาร์ด โนเบลรางวัลโนเบลทำพิธีแจกเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1901 นักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ก็คือ วิลเฮล์ม คอราด รินต์เกิน ผู้ค้นพบรังสีเอกซ์

Andre Marie Ampere อังเดร์ มารี แอมแปร์

Andre Marie Ampere
อังเดร์ มารี แอมแปร์




----------------------------------------------------

อังเดร์ มารี แอมแปร์ Andre Marie Ampere เป็นนักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่ชอบคิดและชอบทดลองมาตั้งแต่เด็ก พอๆกับการเป็นครู การค้นพบของเขาทำให้เขาได้รับเกียรติ โดยนักวิทยาศาสตร์ในสมัยต่อมา ได้ใช้ชื่อของเขาคือ แอมแปร์ เป็นหน่วยของการวัดขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ไหลบนตัวนำ อังเดร์ มารี แอมแปร์ เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม ปีค.ศ.1775 ในฝรั่งเศส บิดามีอาชีพเป็นพ่อค้า แต่เมื่อทราบว่าลูกชายสนใจในทางคณิตศาสตร์ก็ให้การสนับสนุนโดยส่งเขาไปเรียนในโรงเรียนที่ดีที่สุดในเมือง หลังจากเรียนจบเขาก็ทำงานเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ เคมี และภาษาศาสตร์ ในโรงเรียนราษฎร์แห่งหนึ่งในเมืองลีออง และได้เป็นศาสตราจารย์ผู้ควบคุมการทดลองทางฟิสิกส์ ประจำวิทยาลัยในฝรั่งเศสในปีค.ศ.1824 ในระหว่างที่แอมแปร์ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์นัน้ เขาก็ได้ค้นพบจากการทดลองว่า กระอสไฟฟ้าไม่เพียงแต่จะทำให้เข็มแม่เหล็กบ่ายเบนเท่านั้น แม้แต่กระแสไฟฟ้าด้วยกันก็ยังมีปฏิกิริยาเกิดขึ้น โดยการที่เขาใช้ตัวนำคือเส้นลวดต่อกับแบตเตอรี่ แบบวอลตาอิค 2 เส้น และวางเส้นลวดทั้งสองให้ขนานกัน ปรากฏว่า เส้นลวดที่ทีกระแสไฟฟ้าไหลไปในทิศทางเดียวกันจะดึงดูดซึ่งกันและกัน แต่เมื่อกลับทิศทางกันเส้นลวดตัวนำก็จะผลักกัน แอมแปร์จึงสรุปเป็นกฎว่า “เส้นลวดที่มีกระแสไฟไหลผ่าน มีอำนาจเช่นเดียวกับแม่เหล็ก” จากผลการทดลองของเขา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ในสมัยต่อมา นำชื่อของเขาคือ แอมแปร์ มาตั้งเป็นหน่วยของการวัดขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ไหลบนตัวนำคือกระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ หมายถึงกระแสไฟฟ้าที่สามารถแยกเงินบริสุทธิ์ออกจากสารละลายเกลือเงินไนเตรท 0.1 กรัม ที่อุณหภูมิ20o เซลเซียส ได้หนัก 0.001,118 กรัม ในเวลา 1 นาที แอมแปร์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1836 ที่เมืองมาร์เซลล์ เมื่อมีอายุ 61 ปี

Archimedes อาร์คิมีดิส

Archimedes
อาร์คิมีดิส




----------------------------------------

อาร์คิมิดิส Archimedes คือ บุคคลสำคัญของโลกอีกผู้หนึ่ง  เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยกรีกโบราณ เขาเป็นผู้บัญญัติกฎและพิสูจน์กฎนั้นด้วยการปฏิบัติและทดลองด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นแบบอย่างและวิธีการที่นักวิยาศาสตร์ในปัจจุบันปฏิบัติกันอยู่ นอกจากเป็นนักคิดและนักค้นคว้าแล้ว อาร์คิมีดิสยังเป็นนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ โดยการสร้างเครื่องผ่อนแรงในการส่งหลายอย่าง จนได้ชื่อว่า “บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ปฏิบัติ” อาร์คิมีดิส  เกิดที่ซีราคิวในเกาะซิซิลีก่อนคริสตศักราช 248 ปี เป็นบุตรของนักดาราศาสตร์ผู้หนึ่ง เขาจบการศึกษาจากนครอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ และมีความสนใจในการศึกษาทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ภายหลังจบการศึกษาแล้ว เขาได้อุทิศเกือบทั้งชีวิตในการศึกษาค้นคว้าและทดลอง โดยได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์เฮียโรตลอดเวลา อาร์คิมีดิสใช้เวลาส่วนใหญ่ขลุกอยู่กับท่าเรือ และจากนิสัยการเป็นนักคิดและนักประดิษฐ์นั่นเอง เขาจึงสร้างเครื่องผ่อนแรงในการส่งสินค้าที่ท่าเรือหลายอย่าง และได้วางหลักการของคานดีด คานงัดและหลักการของลูกรอก ซึ่งเป็นแนวทางและต้นแบบในการสร้างเครื่องผ่อนแรงในยุคปัจจุบัน นอกจากงานประดิษฐ์เครื่องผ่อนแรงแล้ว สิ่งประดิษฐ์อีกชิ้นหนึ่งของเขาก็คือกระจกรวมแสง ซึ่งเป็นกระจกเว้าใช้ส่องกับอสงอาทิตย์แล้วจะเกิดการสะท้องแสงไปรวมกันที่จุดโฟกัส ทำให้เกิดเปลวไฟขึ้น ซึ่งกล่าวกันว่าเมื่อกรีกเกิดสู้รบกับโรมัน เรือรบของโรมันหลายลำได้ถูกเผาผลาญไปด้วยกระจกเรืองแสงแบบนี้นั่นเอง ผลงานการคิดค้นของเขาที่ได้รับการกล่าวขวัญและมีชื่อเสียงมากๆของอาร์คิมีดิสก็คือ การตั้งกฎการหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุต่างๆ เล่ากันว่าครั้งหนึ่ง กษัตริย์เฮียโรทรงสงสัยว่ามงกุฏที่ทำด้วยทองคำของพระองค์จะถูกช่างทองเจือเงินเข้าไปด้วยเพื่อยักยอกทองบางส่วนไว้ แต่พระองค์ไม่ทราบว่าจะหาวิธีใดที่จะตรวจสอบโดยไม่ต้องนำมงกุฎไปหลอม จึงทรงให้อาร์คิมีดิสซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์และเพื่อนของพระองค์เป็นผู้พิสูจน์ การต้องรับผิดชอบในงานนี้ทำให้อาร์คิมีดิสต้องใช้ความคิดอย่างหนัก ตอนแรกเขามองไม่เห็นทางที่จะตรวจสอบโดยไม่ต้องหลอมมงกุฎเลย แต่แล้วในที่สุดเขาก็ได้รับคำตอบในขณะกำลังจะอาบน้ำ เมื่อเขาก้าวเท้าลงไปในอ่างน้ำซึ่งมีน้ำอยู่เต็ม เขาสังเกตุเห็นว่าน้ำในอ่างน้ำบางส่วนจะล้นออกมาเมื่อเขาก้าวลงไปและคิดว่าถ้าเขาเป็นคนอ้วน น้ำก็คงจะล้นออกมามากกว่านี้ และทันใดนั้นเขาก็กระโดดออกจากอ่างและตะโกนว่า “ยูเรกา ยูเรกา” (ซึ่งในภาษากรีกแปลว่าฉันรู้แล้ว)เสียงดังลั่น การที่อาร์คิมีดิสตื่นเต้นเพราะน้ำที่ล้นออกจากอ่างทำให้เขาคิดหาแก้ปัญหาของกษัตริย์ได้ เขาทราบว่าเงินหนักครึ่งกิโลกรัมจะมีปริมาณมากกว่าทองที่มีน้ำหนักที่มีน้ำหนักเท่ากัน ดังนั้นถ้าเขาจุ่มก้อนเงินลงในถ้วยที่มีน้ำเต็ม น้ำจะล้นออกมามากกว่าเมื่อจุ่มทองที่มีน้ำหนักเท่ากันลงไป เช่นเดียวกับคนอ้วนที่จะทำให้น้ำล้นออกจากอ่างมากกว่าคนผอม โลหะเงินผสมทองก็จะทำให้ปริมาณน้ำล้นออกมาน้อยกว่าเงินบริสุทธิ์ แต่จะมากกว่าทองบริสุทธิ์ อาร์คิมีดิสจึงชั่งมงกุฎและทองแท่งหนึ่งให้มีน้ำหนักเท่ากันแล้วเอามงกุฎและทองจุ่มลงในถ้วยที่มีน้ำเต็ม เขาพบว่า มงกุฎทำให้น้ำล้นออกมามากกว่าทอง เขาจึงทราบว่ามงกุฎนั้นไม่ได้ทำจากทองคำบริสุทธิ์ทั้งหมด แต่มีโลหะเงินและโลหะอื่นๆเจือปนอยู่ จากนั้นอาร์คิมีดิสก็เริ่มค้นคว้าหาวิธีการที่จะหาปริมาณของเงินบริสุทธิ์ที่ผสมอยู่ในมงกุฎ โดยนำเอาเงินบริสุทธิ์หนักเท่ามงกุฎใส่ลงในถ้วยน้ำ และเปรียบเทียบปริมาตรของน้ำที่ล้นออกมาแต่ละครั้ง ด้วยวิธีนี้ทำให้เขาคำนวณได้ว่าในมงกุฎมีโลหะแต่ละชนิดผสมอยู่อย่างละเท่าไๆไหร่ เมื่อได้คำตอบแล้วเขาก็นำไปกราบทูลให้กษัตริย์เฮียโรทรงทราบ ทำให้พระองค์พอพระทัยมาก จึงพระราชทานรางวัลให้เขาและลงโทษช่างทองผู้คดโกง และจากเหตุการณ์นี้เอง เขาจึงเป็นผู้ตั้งกฎ ซึ่งถูกเรียกว่ากฎของอาร์คิมีดิสว่า “น้ำหนักของวัตถุที่หายไปในน้ำ จะเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่” ซึ่งจากกฎข้อนี้เอง ทำให้นักวิทยาศาสตร์ยุคต่อมาได้ใช้ในการหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุ อาร์คิมีดิสเสียชีวิตจากการถูกสังหาร เมื่อก่อนคริสตศักราช 323 ปี รวมอายุได้ 75 ปี