Wednesday, February 2, 2011

Evangelista Torricelli:อีวานเจอลิสตา ทอริเชลลิ

Evangelista Torricelli


อีวานเจอลิสตา ทอริเชลลิ







---------------------------

บุคคลสำคัญของโลกผู้นี้ เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียน เกิดเมื่อ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1608 ที่เมืองฟาแอนซา (เมืองที่อยู่ในเขตการปกครองของพระสันตะปาปา) ประเทศอิตาลี



ทอริเซลลิเป็นเด็กกำพร้าบิดาตั้งแต่ตอนเยาว์วัย แต่ได้อยู่ในความความดูแลของลุงซึ่งเป็นพระในนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นผู้ส่งเสียให้เขาเข้าศึกษาในวิทยาลัยของทางศาสนาแห่งหนึ่ง เมื่อปี ค.ศ. 1624 โดยศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์และปรัชญาจนถึงปี ค.ศ. 1626



ต่อมาทอริเซลลิก็ได้ถูกส่งไปที่กรุงโรมเมื่อค.ศ. 1627 เพื่อศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ภายใต้การดูแลของศาสตราจารย์ เบเนเนตโต คาสเตลลี ศาสตราจารย์ทางด้านคณิตศาสตร์แห่งวิทยาลัยคอลลีจีโอ เดลลา ซาเปียนซา เมืองปิซา



เมื่อกาลิเลโอถูกประหารชีวิตเมื่อ 8 มกราคม ค.ศ. 1642 ทอริเซลลิก็ได้รับเชิญให้เป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปีซาแทนกาลิเลโอ



คุณูปการสำคัญที่ทอริเซลลิมีต่อโลก คือเป็นผู้พิสูจน์ให้เห็นว่าอากาศมีน้ำหนักและมีแรงขับทุกสิ่งทุกอย่างบนโลก



ทอริเซลลิถึงแก่กรรมเมื่อ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1647 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หลังจากที่ติดเชื้อไข้ไทยฟอยด์ได้ไม่กี่วัน ศพของเขาถูกฟังไว้ที่เมืองซานโลเรนโซ

Galileo:กาลิเลโอ

Galileo

กาลิเลโอ







---------------------------------------


บุคคลสำคัญของโลกคนต่อไป คือ กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์และนาฬิกาลูกตุ้มเป็นคนแรก เขาเป็นผู้คัดค้านทฤษฎีของอริสโตเติลที่ว่า วัตถุหนักจะตกเร็วกว่าวัตถุที่เบากว่า และหักล้างทฤษฎีของอริสโตเติลที่กล่าวว่า ดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก ความเชื่อของกาลิเลโอ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นความคิดที่ขัดต่อศาสนา จนถูกจับไปทรมาน และถูกบังคับให้แสดงให้สาธารณชนเห็นว่าคำกล่าวของเขานั้นผิด เขาโชคร้ายที่มีชีวิตอยู่ในช่วงที่ประชาชนมีความหวาดกลัวต่อความคิดใหม่ๆ แต่สำหรับในปัจจุบันเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ และนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลก



กาลิเลโอ กาลิเลอิ เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 ที่เมืองปิซา ประเทศอิตาลี บิดาของเขาเชี่ยวชาญในทางคณิตศาสตร์ และการดนตรีมาก หลังจากกาลิเลโอเกิดไม่กี่ปี ครอบครัวของเขาก็ย้ายภูมิลำเนาจากเมืองปิซา ไปอยู่เมืองฟลอเรนซ์ ตลอดเวลาที่เรียนกาลิเลโอก็ได้แสดงให้เห็นว่ามีความเฉลียวฉลาดพอที่จะเรียนต่อในคณะแพทยศาสตร์ สมตามที่บิดาของเขามุ่งหวังไว้ได้



กาลิเลโอสนใจวิชาการแพทย์น้อย ที่เรียนก็ด้วยความจำใจและเบื่อหน่าย แต่เมื่อถึงคราวเรียบนวิชาวิทยาศาสตร์เขาจะตื่นเต้นและเรียนได้อย่างสนุก



วันหนึ่งขณะที่กาลิเลโอ นั่งอยู่ในโบสถ์ของเมืองปิซา เขาได้สังเกตการแกว่งของตะเกียงที่ห้อยลงมาจากเพดานโบสถ์ เขาพบว่าการแกว่งของตะเกียงแต่ละครั้งมีระยะวงกว้งไม่เท่ากัน วงที่แกว่งกว้างน่าจะกินเวลานานกว่า กาลิเลโอคิดอย่างนี้ แต่เพื่อให้แน่ใจ เขาลองจับชีพจรของเขาเพื่อทดสอบเวลาการแกว่งของตะเกียง ผลปรากฏว่าการแกว่งทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นวงกว้างหรือวงแคบใช้เวลาเท่ากันทุกครั้ง กาลิเลโอกลับไปทำการทดลองที่บ้านอีก จากผลงานชื้นนี้เอง เขาได้ตั้งกฎเกี่ยวกับการแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกาขึ้น และเขายังได้ใช้กฎนี้ประยุกต์ทำเครื่องจับเวลาขึ้นมาด้วย



อริสโตเติลได้บอกว่า วัตถุหนักจะตกเร็วกว่าวัตถุที่เบากว่า และทุกคนตั้งแต่สมัยของอริสโตเติลก็เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น น้อยคนนักที่จะกล้าสงสัยหรือตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อริสโตเติลได้เขียนเอาไว้ แต่กาลิเลโอพูดว่า ถ้าขึ้นไปบนหอเอนเมืองปิซา แล้วทิ้งวัตถุ 2 ชิ้นลงมา ชิ้นหนึ่งหนักกว่าอีกชิ้นหนึ่ง วัตถุทั้ง 2 จะตกถึงพื้นพร้อมกัน เพราะวัตถุทั้ง 2 ตกด้วยความเร็วที่เท่ากัน ประชาชนในเมืองปิซาโกรธแค้นกาลิเลโอมากที่เขากล้ามีความคิดค้านอริสโตเติล และประชาชนในยุคนั้นก็ไม่ชอบที่จะให้มีการพิสูจน์ว่าความเชื่อถือของตนนั้นผิด ใน ค.ศ. 1592 เขาต้องถูกขับออกจากมหาวิทยาลัย และประชาชนเสื่อมความนิยมลงไปมาก ปีเดียวกันนี้กาลิเลโอไปอยู่มหาวิทยาลัยปาดัว(Padua) และทำการสอนอยู่มหาวิทยาลัยแห่งนี้นานถึง 18 ปี



ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1610 กาลิเลโอได้ค้นพบสิ่งที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง คือค้นพบดวงจันทร์ของดาวพฤหัส 4 ดวง ด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่เขาสร้างขึ้นเอง ในสมัยนั้นประชาชนเชื่อตามอริสโตเติลว่า ทุกสิ่งทุกอย่างหมุนรอบโลกและความเชื่อเช่นนี้ยังเชื่อถือกันสืบต่อมา หลังจากยุคของโคเปอร์นิคัสมาอีกราว 60 ปี ทั้งๆที่โคเปอร์นิคัส ได้พรรณนาให้ทราบแล้วว่าดาวเคราะห์ทั้งหลายโคจรรอบดวงอาทิตย์ การค้นพบของกาลิเลโอ แสดงให้เห็นว่า ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสนั้นโคจรรอบดาวพฤหัส เช่นเดียวกับที่โคเปอร์นิคัสกล่าวว่า ดวงจันทร์ของโลกโคจรรอบโลก นี่เป็นความเห็นที่ตรงกันของโคเปอร์นิคัส และกาลิเลโอ



ในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิต กาลิเลโอเก็บตัวเงียบ เหมือนตัดขาดจากโลกภายนอก แต่เขายังคงสอนสานุศิษย์ของเขาอยู่เหมือนเดิม ว่างการสอนก็วิเคราะห์วิจัย และสร้างเครื่องมือใหม่ๆ และแต่งตำราที่ใหญ่ยิ่งในชีวิตของเขาว่าด้วยการเคลื่อนที่และเครื่องกล



กาลิเลโอถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1642 ขณะมีอายุได้ 78 ปี

George Richards Minot:จอร์จ ริชาร์ด มินอท

George Richards Minot


จอร์จ ริชาร์ด มินอท



บุคคลสำคัญของโลกท่านต่อไป คือ จอร์จ ริชาร์ด มินอท เกิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1885 ที่เมืองบอสตัน รัสแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา จอร์ชเรียนจบทางด้านการแพทย์จนได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตในปี ค.ศ. 1912 และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ เมื่อปี ค.ศ. 1928




สมัยที่จอร์จ มินอท เรียนแพทย์อยู่นั้น เขาสนใจในเรื่องความผิดปกติของโลหิต และได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับมะเร็งในเม็ดเลือด ความผิดปกติของเซลล์น้ำหนอง โรคอันเกิดจากเม็ดเลือดแดงมีมากกว่าปกติ โรคขาดสารอาหารที่ทำให้เกิดโรคประสาทและโรคเลือด รวมทั้งการถ่ายเลือด และได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับการที่เลือดไหลไม่หยุดเนื่องจากการป่วยด้วยโรคโลหิตจางเป็นเวลานานๆและยังได้ศึกษาลักษณะของเลือดในผู้ป่วย อันเกิดจากมลพิษทางอุตสาหกรรม แต่งานที่เขาให้ความสนใจมากที่สุดก็คือการวิจัยโรคโลหิตจาง



จอร์จเริ่มศึกษาเกี่ยวกับโรคโลหิตจางเมื่อปี ค.ศ. 1918 โดยร่วมทำงานกับวิลเลียม พี. เมอร์ฟีย์ โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากผลงานของ จอร์ช ฮอยต์ วิปเปิล ที่วิจัยเกี่ยวกับการรักษาโรคโลหิตจางในสุนัข และในปี ค.ศ. 1926 เขากับเมอร์ฟีย์ได้แสดงวิธีการรักษาโรคโลหิตจางชนิดร้ายแรงด้วยตับอย่างได้ผลดี และได้พิมพ์ผลงานชิ้นแรกในปี ค.ศ. 1926 ชื่อ “การรักษาโรคโลหิตจางชนิดร้ายแรงโดยการให้อาหารเป็นพิเศษ” (คือการให้คนไข้ที่ป่วยด้วยโรคโลหิตจางรับประทานตับ) ซึ่งทำให้คนทั้งสามคนได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1934



จอร์จ ริชาร์ด มินอท ถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ. 1950 ขณะมีอายุได้ 65 ปี