Gregor Mendel
เกรกอร์ เมนเดล
------------------------------------------------------------------------
อะไรทำให้คนเรามีผมสีแดง ตาสีฟ้าหรือจมูกสีขาว บัดนี้เรารู้แล้วว่าหน่วยถ่ายพันธุ์ของเราทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ในทุกๆเซลล์ของร่างกายของเราถ้ามีหน่วยถ่ายพันธุ์ ซึ่งทำให้เราเป็นดังที่เราเป็นอยู่ การศึกษาเรื่องหน่วยถ่ายพันธุ์เหล่านี้และอิทธิพลของพวกมันที่มีต่อบุคลิกลักษณะของเราเรียกว่า วิชาว่าด้วยการถ่ายพันธุ์ และบิดาแห่งวิชานี้คือ เกรเกอร์ เมนเดล
เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล เกิดในปี ค.ศ. 1822 ที่ไฮน์เซนดรอฟ ประเทศออสเตรีย เป็นบุตรชายคนเดียวในจำนวนพี่น้อง 3 คน ของชาวนายากจนชาวโบฮีเมียน เขาได้รับการศึกษาเพราะการช่วยเหลือจากเงินของพี่สาว พอเงินหมด เขาจึงต้องบวชเพื่อให้ได้ศึกษาต่อ ในปี 1847 โดยรับหน้าที่รับผิดชอบดูแลสวน และพืชพันธุ์ไม้ของวัด อันเป็นแรงดลใจในการค้นคว้าของเขาอย่างยิ่ง
ในปี 1852 เจ้าอาวาสของวัดได้ส่งบาทหลวงเกรเกอร์ไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา และได้รับปริญญาทางด้านธรรมชาติวิทยา ในปี 1854 และเข้าสอนเป็นครูผู้ช่วยที่ดี แต่ก็ไม่สอบผ่านในการที่จะเป็นครูโดยเต็มตัว
บาทหลวงเกรเกอร์เผชิญกับความพลาดหวังอย่างอดทนเป็นเวลาถึง 20 ปี ที่เขายังคงสอนหนังสือในฐานะครูผู้ช่วยและเพื่อชดเชยกับความผิดหวัง เขาจึงได้ทุ่มเทเวลาว่างทั้งหมดโดยทำงานในสวนของวัด ที่นั่นมีพืชพันธุ์ไม้มากมาย แต่ละชนิดแตกต่างกันไปหลายอย่าง ความแตกต่างกันนี้ ทำให้บาทหลวงเกรเกอร์นึกสงสัย เขาจึงผสมพันธุ์ถั่วพันธุ์เดียวกันและต่างพันธุ์ เป็นจำนวนแตกต่างกันถึงยี่สิบสองชนิดของต้นถั่ว เพื่อศึกษาลักษณะทั้งหมด เขาศึกษาเมล็ด ดอก และความสูงที่เติบโตและจากเวลาแปดปีเต็มในการทำงานและการทดลองหลายพันครั้ง บาทหลวงเกรเกอร์พบสามสิ่ง
สิ่งแรก เมื่อผสมพันธุ์ถั่วชนิดต่างกันสองชนิดผลผลิตต่อมาที่ได้เป็นพันธุ์ชนิดเดียว ยกตัวอย่าง ถ้าหากเขาผสมพันธุ์ถั่วเมล็ดสีเหลืองกับชนิดเมล็ดสีแดง มันจะผลิตพันธุ์เมล็ดสีเหลืองออกมา
ต่อไป เมื่อผสมพันธุ์ต่างชนิดกันของผลผลิตรุ่นแรกรุ่นต่อไปจะมีเมล็ดทั้งสองชนิด ต้นที่มีเมล็ดสีเขียวทุกๆต้น จะมีสามต้นที่มีเมล็ดสีเหลือง นี่เป็นเพราะว่าหน่วยถ่ายพันธุ์ที่ผลิตเมล็ด สีเหลืองเป็นหน่วยถ่ายพันธุ์ที่สำคัญคือ โดมิแนนท์ยีน หน่วยถ่ายพันธุ์ที่ผลิตเมล็ดสีเขียวเรียกว่า รีเซสซีพยีน หรือหน่วยถ่ายพันธุ์ตัวรอง
สิ่งที่สาม ถ้าหากเขาผสมพันธุ์ถั่วต่างชนิดกันด้วยถั่วสองชนิด หรือมากกว่านั้นที่มีลักษณะแตกต่างกัน เขาจะค้นพบกฎข้อที่สาม สมมติว่าเขาผสมพันธุ์ถั่วที่มีเมล็ดเรียบสีเหลืองกับพันธุ์ถั่วที่มีเมล็ดหยาบสีเขียว รุ่นแรกเมล็ดเรียบสีเหลืองจะเป็นตัวเด่นในรุ่นต่อไป จะมีอัตราส่วนเมล็ดเรียบสีเหลือง 9ส่วนต่อ 3ส่วน เมล็ดหยาบสีเขียว เมล็ดหยาบสีเหลืองหนึ่งต่อหนึ่งเมล็ดหยาบสีเขียว
เมนเดลทราบว่า การค้นพบของเขาสำคัญมากสำหรับผู้ที่ผสมพันธุ์พืช และสัตว์ เขาได้เขียนเรื่องราวเหล่านี้ ส่งไปยังสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งหนึ่ง แต่ไม่มีใครสนใจแม้แต่น้อย เมนเดลจึงเลิกล้มความพยายามที่จะตีพิมพ์งานของเขา เขาเก็บรายงานไว้ในห้องสมุดของวัดและทำการทดลองต่อด้วยตนเองอย่างเงียบๆ ในส่วนสำนักสงฆ์ จนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1884 หลังจากนั้นอีก 16 ปี คือในปี ค.ศ. 1900 นักวิทยาศาสตร์เมนเดล จึงได้ตีพิมพ์เผยแพร่ และก็มีการทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยอาศัยการค้นพบของเกรเกอร์ เมนเดล ผู้ซึ่งตัวเขาเอง ในสมัยที่มีชีวิตอยู่ไม่เคยได้รับการยกย่องจากสิ่งนั้นเลย
Important Persons of the World:Their Lives and Contributions to the World william Harveyฮิปโปเครติส, james watt,จอห์น ดอลตัน (john dalton),บุคคลที่สร้างผล งานให้โลก,john baird, william Harvey,บุคคลสำคัญของโลก, richard Trevithick,บุคคลสำคัญของโลก ผลงานทางการแพทย์, lord ernest Rutherford,บทบาทและความสำคัญหลุยปาสเตอร์,ผู้ประดิษฐ์เครื่องบินลําแรกของโลก ประวัคิชีวิตบุคคนสำคัญที่สุดในโลก, ภาพเเละความดีของบุคคลสำคัญที่ช่วยเหลือคนอื่น,
Thursday, December 9, 2010
Guglielmo Marconi:กูกิลโม มาร์โคนี
Guglielmo Marconi
กูกิลโม มาร์โคนี
---------------------------------------------------------------------
นักประดิษฐ์ชาวอิตาลี ผู้ได้รับสิทธิบัตรในการค้นคว้าการส่งโทรเลขไร้สายเป็นคนแรกเมื่ออายุเพียง 22 ปี และเป็นเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ.1909 และได้รับการยกย่องอย่างสูงจากทั่วโลกในสิ่งประดิษฐ์อันมีประโยชน์ของเขา
กูกิลโม มาร์โคนี เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1874 ที่โบโลนา ประเทศอิตาลี มีบิดาเป็นชาวอิตาลี มารดาเป็นชาวไอริช เขาได้รับแรงดลใจจากการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของคลาร์ค แม๊กซ์เวลล์ และการทดลองการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวดของไฮริช เฮิร์ท นักวิทยาศสตร์ชาวเยอรมัน
หลังการค้นพบของเฮิร์ทไม่นานเด็กหนุ่มชาวอิตาลีชื่อ กูกิลโม มาร์โคนี ซึ่งศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยโบโลนา ในประเทศอิตาลี ได้พบปะกับนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งซึ่งเคยทำงานกับเฮิร์ทในเยอรมัน งานของเฮิร์ททำให้มาร์โคนีเกิดจินตนาการ เขาได้สร้างเครื่องรับวิทยุอย่างง่ายๆ ไว้ในห้อง 2 ห้องที่บ้านของบิดา และในไม่ช้าเขาก็สามารถส่งสัญญาณข้ามห้องจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่งได้ เขาพบว่าถ้าเขาสร้างเสาอากาศให้สูงขึ้น เขาจะสามารถส่งสัญญาณของเขาได้ไกลขึ้นด้วย
ในปี ค.ศ. 1895 เมื่อเขาอายุได้ 21 ปี เขาส่งสัญญาณไปไกลถึง 1.5 กิโลเมตร เขาเห็นความสำคัญของการค้นพบนี้ การทดลองต่อต้องการทุนทรัพย์แต่ไม่มีใครสนใจในเรื่องนี้นัก เมื่อเขาไม่ได้รับการสนับสนุนในอิตาลีจึงเดินทางสู่ลอนดอน เมื่อปี ค.ศ. 1896 การไปรษณีย์ของอังกฤษให้ความช่วยเหลือและด้วยการปรับปรุงวิธีการของเฮิร์ทในหลายๆ ด้าน เขาเริ่มสามารถส่งสัญญาณไปไกลๆ ขึ้นในปี ค.ศ. 1899 เขาส่งสัญญาณจากสถานีหนึ่งทางฝั่งด้านใต้ไปยังสถานีในฝรั่งเศส ซึ่งไกลออกไป 50 กิโลเมตร และที่ระยะ 150 กิโลเมตรได้สำเร็จ
เจ้าของเรือเริ่มติดตั้งเครื่องมาร์โคนีในเรือเดินทะเลของเขา หลายคนรู้สึกประทับใจเมื่อเรือที่กำลังเดินทางในกู๊ดวินแซนด์ในทะเลเหนือได้รับการเตือนให้ทราบถึงภัยอันตรายด้วยคลื่นวิทยุจากมาร์โคนี ทำให้เรือกับลูกเรือทุกคนปลอดภัย
กูกิลโม มาร์โคนี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1937
กูกิลโม มาร์โคนี
---------------------------------------------------------------------
นักประดิษฐ์ชาวอิตาลี ผู้ได้รับสิทธิบัตรในการค้นคว้าการส่งโทรเลขไร้สายเป็นคนแรกเมื่ออายุเพียง 22 ปี และเป็นเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ.1909 และได้รับการยกย่องอย่างสูงจากทั่วโลกในสิ่งประดิษฐ์อันมีประโยชน์ของเขา
กูกิลโม มาร์โคนี เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1874 ที่โบโลนา ประเทศอิตาลี มีบิดาเป็นชาวอิตาลี มารดาเป็นชาวไอริช เขาได้รับแรงดลใจจากการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของคลาร์ค แม๊กซ์เวลล์ และการทดลองการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวดของไฮริช เฮิร์ท นักวิทยาศสตร์ชาวเยอรมัน
หลังการค้นพบของเฮิร์ทไม่นานเด็กหนุ่มชาวอิตาลีชื่อ กูกิลโม มาร์โคนี ซึ่งศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยโบโลนา ในประเทศอิตาลี ได้พบปะกับนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งซึ่งเคยทำงานกับเฮิร์ทในเยอรมัน งานของเฮิร์ททำให้มาร์โคนีเกิดจินตนาการ เขาได้สร้างเครื่องรับวิทยุอย่างง่ายๆ ไว้ในห้อง 2 ห้องที่บ้านของบิดา และในไม่ช้าเขาก็สามารถส่งสัญญาณข้ามห้องจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่งได้ เขาพบว่าถ้าเขาสร้างเสาอากาศให้สูงขึ้น เขาจะสามารถส่งสัญญาณของเขาได้ไกลขึ้นด้วย
ในปี ค.ศ. 1895 เมื่อเขาอายุได้ 21 ปี เขาส่งสัญญาณไปไกลถึง 1.5 กิโลเมตร เขาเห็นความสำคัญของการค้นพบนี้ การทดลองต่อต้องการทุนทรัพย์แต่ไม่มีใครสนใจในเรื่องนี้นัก เมื่อเขาไม่ได้รับการสนับสนุนในอิตาลีจึงเดินทางสู่ลอนดอน เมื่อปี ค.ศ. 1896 การไปรษณีย์ของอังกฤษให้ความช่วยเหลือและด้วยการปรับปรุงวิธีการของเฮิร์ทในหลายๆ ด้าน เขาเริ่มสามารถส่งสัญญาณไปไกลๆ ขึ้นในปี ค.ศ. 1899 เขาส่งสัญญาณจากสถานีหนึ่งทางฝั่งด้านใต้ไปยังสถานีในฝรั่งเศส ซึ่งไกลออกไป 50 กิโลเมตร และที่ระยะ 150 กิโลเมตรได้สำเร็จ
เจ้าของเรือเริ่มติดตั้งเครื่องมาร์โคนีในเรือเดินทะเลของเขา หลายคนรู้สึกประทับใจเมื่อเรือที่กำลังเดินทางในกู๊ดวินแซนด์ในทะเลเหนือได้รับการเตือนให้ทราบถึงภัยอันตรายด้วยคลื่นวิทยุจากมาร์โคนี ทำให้เรือกับลูกเรือทุกคนปลอดภัย
กูกิลโม มาร์โคนี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1937
Hippocrates:ฮิปโปเครติส
Hippocrates
ฮิปโปเครติส
------------------------------------------------------------------------
ฮิปโปเครติส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนายแพทย์คนสำคัญคนแรกในยุคก่อนคริสตกาล เกิดที่เกาะคอส ประเทศกรีก เมื่อประมาณ 460 ปีก่อนคริสตกาล นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์รู้ประวัติของเขาน้อยมาก ทราบแต่เพียงว่าบิดาของเขาก็เป็นแพทย์เช่นกัน ผู้คนในสมัยกรีกโบราณมีความเชื่อมั่นในตัวฮิปโปเครติสมากจนมีคำกล่าวกันว่า เขาถูกเทพเจ้าแห่งแพทย์ของกรีกคือ “อีสคัลเลเปียส” ส่งลงมาเกิด
ฮิปโปเครติส เริ่มงานแพทย์ของเขาที่กรุงเอเธนส์ โดยเดินทางไปรักษาคนไข้ในที่ต่างๆเขาไม่เชื่อเรื่องเวทมนต์และไม่เคยใช้เครื่องลางหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในการรักษาคนไข้ ที่มักจะทำกันในสมัยนั้น แต่จะทำการรักษาคนไข้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์เท่าที่จะทำได้ เขาจะเขียนอธิบายอาการของผู้ป่วยและวิธีการรักษาไว้อย่างละเอียด และเป็นคนแรกที่คิดว่าการศึกษาเกี่ยวกับเชื้อโรคจะต้องมีวิชาวิทยาศาสตร์เป็นรากฐาน และจากหลักฐานและข้อเขียนเหล่านี้ทำให้เราทราบว่าเขามีความละเอียดถี่ถ้วนและมีความชำนาญทางด้านการแพทย์มาก มีมาตรฐานในการทำงานสูง เขาจะอุทิศชีวิตของเขาในการรักษา จนได้ชื่อว่า “บิดาแห่งวิชาแพทย์”
ฮิปโปเครติส ถึงแก่กรรมขณะมีอายุเกือบถึง 100 ปี
ฮิปโปเครติส
------------------------------------------------------------------------
ฮิปโปเครติส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนายแพทย์คนสำคัญคนแรกในยุคก่อนคริสตกาล เกิดที่เกาะคอส ประเทศกรีก เมื่อประมาณ 460 ปีก่อนคริสตกาล นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์รู้ประวัติของเขาน้อยมาก ทราบแต่เพียงว่าบิดาของเขาก็เป็นแพทย์เช่นกัน ผู้คนในสมัยกรีกโบราณมีความเชื่อมั่นในตัวฮิปโปเครติสมากจนมีคำกล่าวกันว่า เขาถูกเทพเจ้าแห่งแพทย์ของกรีกคือ “อีสคัลเลเปียส” ส่งลงมาเกิด
ฮิปโปเครติส เริ่มงานแพทย์ของเขาที่กรุงเอเธนส์ โดยเดินทางไปรักษาคนไข้ในที่ต่างๆเขาไม่เชื่อเรื่องเวทมนต์และไม่เคยใช้เครื่องลางหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในการรักษาคนไข้ ที่มักจะทำกันในสมัยนั้น แต่จะทำการรักษาคนไข้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์เท่าที่จะทำได้ เขาจะเขียนอธิบายอาการของผู้ป่วยและวิธีการรักษาไว้อย่างละเอียด และเป็นคนแรกที่คิดว่าการศึกษาเกี่ยวกับเชื้อโรคจะต้องมีวิชาวิทยาศาสตร์เป็นรากฐาน และจากหลักฐานและข้อเขียนเหล่านี้ทำให้เราทราบว่าเขามีความละเอียดถี่ถ้วนและมีความชำนาญทางด้านการแพทย์มาก มีมาตรฐานในการทำงานสูง เขาจะอุทิศชีวิตของเขาในการรักษา จนได้ชื่อว่า “บิดาแห่งวิชาแพทย์”
ฮิปโปเครติส ถึงแก่กรรมขณะมีอายุเกือบถึง 100 ปี
Tuesday, December 7, 2010
Isaac Newton:เซอร์ ไอแซค นิวตัน
Isaac Newton
เซอร์ ไอแซค นิวตัน
--------------------------------------------------------------------------------
นักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ และเชื่อในเรื่องทฤษฎีที่ว่าดวงอาทิตย์มีอิทธิพลต่อดวงชะตาของคน และชอบศึกษาเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุที่เราทราบกันว่าเป็นเรื่องไร้สาระ นักวิทยาศาสตร์คนเดียวกันนี้เองที่ค้นพบกฎของของแรงโน้มถ่วง และพัฒนาคณิตศาสตร์แขนงใหม่คือ “แคลคูลัส” ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อวิทยาศาสตร์แขนงใหม่ทุกแขนง
เซอร์ ไอแซค นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 1642 ที่ลินคอล์นเชียร์ ประเทศอังกฤษ ในสมัยที่เป็นเด็กไม่ค่อยสนใจต่อการเรียนนัก ชอบทางด้านเครื่องกล แต่พออายุ 15 ปี เขากลับเอาใจใส่ต่อการเรียนมากขึ้น แต่พอบิดาของเขาถึงแก่กรรมลง มารดาก็ตั้งใจที่จะให้เขาทำงานในฟาร์มเหมือนกับบิดา แต่เขาไม่ชอบ
ไอแซค นิวตัน เป็นคนไม่ชอบเพื่อน ฉะนั้นเขาจึงมีเวลามากพอที่จะหมกมุ่นกับตำราเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกๆใหม่ๆเป็นต้นว่า โรงสีลมเล็กๆซึ่งใช้กำลังงานจากกระแสลมทำให้เครื่องจักรหมุน และสร้างนาฬิกาน้ำโดยให้หยดลงมาในถังแล้วสังเกตระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นมา
พอนิวตันจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อปี 1665 เขาทำงานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยนี้ พอเกิดโรคระบาดมหาวิทยาลัยจึงต้องปิดชั่วคราว นิวตันจึงกลับไปทำงานส่วนตัวที่บ้าน ในช่วงเวลานั้นเป็นระยะที่เขาได้ความคิดเกี่ยวกับงานสำคัญของเขาในเวลาต่อมาหลายเรื่อง เมื่อเขาทำงานเงียบๆด้วยตังเอง คิดถึงสิ่งต่างๆที่เขาสังเกตและสามารถเห็นเหตุผลที่ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งคนอื่นเห็นเป็นเรื่องธรรมดา เช่น การสังเกตการหล่นของแอปเปิล ที่ทำให้เขาได้ความคิดเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นแรงดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกและเป็นแรงที่ทำให้โลก ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และดาวต่างๆอยู่ในระบบสุริยะ คนทั่วไปมองเห็นสีของรุ้งกินน้ำในท้องฟ้า แสงที่เราเห็นว่าไม่มีสีหรือที่เรียกว่า มีสีขาวเกิด จากสีรุ้งนั้นเอง
นิวตันเป็นคนที่อ่อนไหว เขาไม่ชอบการขัดแย้งกันและมักจะโกรธต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เขาไม่ได้ตีพิมพ์เรื่องแรงโน้มถ่วงเป็นเวลาหลายปี ในระหว่างนั้นเขาได้ศึกษาวิธีที่ สร้างกล้องโทรทรรศน์ และเมื่อเขากลับไปที่ เคมบริดจ์ เขาได้สร้างกล้องโทรทรรศน์แบบใหม่มีตัวสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์นี้ ทำให้เขามีชื่อเสียงและได้รับเชิญให้เข้าร่วมราชสมาคมซึ่งเป็นสมาคมชั้นนำของนักวิททยาศาสตร์ในประเทศอังกฤษ แต่โรเบิร์ต ฮุค ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสมาคมได้วิจารณ์ความคิดของเขาเกี่ยวกับธรรมชาติของแสง นิวตันและฮุค จึงไม่เคยเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเลย
นิวตัน ยังมีสิ่งที่อยู่ในความสนใจนอกเหนือไปจากวิทยาศาสตร์ เขาได้เป็นสมาชิกรัฐสภาในช่วงเวลาสั้นๆ จากนั้นในปี 1699 เขาได้เป็นหัวหน้ากองกษาปณ์ ของราชสำนัก ซึ่งผลิตเหรียญที่ใช้กันในประเทศ
ถึงแม้เขาจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ แต่เขาก็มีความคิดบางอย่างที่แปลกประหลาด เช่น เขาเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ เชื่อในเรื่องทฤษฎี ที่ว่าดวงดาวมีอิทธิพลต่อโชคชะตาของคน เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งเชื่อกันว่าสามารถเปลี่ยนโลหะ เช่น ทองแดงเป็นทองคำได้ในสมัยนิวตันผู้คนมีความเชื่อกันเช่นนี้มากซึ่งปัจจุบัน เราทราบว่าเป็นเรื่องไร้สาระ
ไอแซค นิวตัน เป็นบุคคล ที่มุ่งทำประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่าชีวิตของตนเอง เขามีความสูขอยู่กับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ และการคำนวณภายในห้องทดลองของเขายิ่งกว่าสิ่งอื่นใด เขาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น “เซอร์” เมื่อมีอายุ 60 ปีแล้ว
เซอร์ไอแซค นิวตัน ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 84 ปี และถูกฝังในสุสานวิหารเวสมินสเตอร์ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นอนุสาวรีย์ของเขาตั้งอยู่ แม้ว่าทุกคนจะระลึกถึงเขาว่าเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่ง แต่ตัวเขาเคยพูดว่า “ฉันมองได้ไกลกว่าคนส่วนใหญ่ก็เพราะฉันยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์”
เซอร์ ไอแซค นิวตัน
--------------------------------------------------------------------------------
นักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ และเชื่อในเรื่องทฤษฎีที่ว่าดวงอาทิตย์มีอิทธิพลต่อดวงชะตาของคน และชอบศึกษาเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุที่เราทราบกันว่าเป็นเรื่องไร้สาระ นักวิทยาศาสตร์คนเดียวกันนี้เองที่ค้นพบกฎของของแรงโน้มถ่วง และพัฒนาคณิตศาสตร์แขนงใหม่คือ “แคลคูลัส” ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อวิทยาศาสตร์แขนงใหม่ทุกแขนง
เซอร์ ไอแซค นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 1642 ที่ลินคอล์นเชียร์ ประเทศอังกฤษ ในสมัยที่เป็นเด็กไม่ค่อยสนใจต่อการเรียนนัก ชอบทางด้านเครื่องกล แต่พออายุ 15 ปี เขากลับเอาใจใส่ต่อการเรียนมากขึ้น แต่พอบิดาของเขาถึงแก่กรรมลง มารดาก็ตั้งใจที่จะให้เขาทำงานในฟาร์มเหมือนกับบิดา แต่เขาไม่ชอบ
ไอแซค นิวตัน เป็นคนไม่ชอบเพื่อน ฉะนั้นเขาจึงมีเวลามากพอที่จะหมกมุ่นกับตำราเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกๆใหม่ๆเป็นต้นว่า โรงสีลมเล็กๆซึ่งใช้กำลังงานจากกระแสลมทำให้เครื่องจักรหมุน และสร้างนาฬิกาน้ำโดยให้หยดลงมาในถังแล้วสังเกตระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นมา
พอนิวตันจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อปี 1665 เขาทำงานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยนี้ พอเกิดโรคระบาดมหาวิทยาลัยจึงต้องปิดชั่วคราว นิวตันจึงกลับไปทำงานส่วนตัวที่บ้าน ในช่วงเวลานั้นเป็นระยะที่เขาได้ความคิดเกี่ยวกับงานสำคัญของเขาในเวลาต่อมาหลายเรื่อง เมื่อเขาทำงานเงียบๆด้วยตังเอง คิดถึงสิ่งต่างๆที่เขาสังเกตและสามารถเห็นเหตุผลที่ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งคนอื่นเห็นเป็นเรื่องธรรมดา เช่น การสังเกตการหล่นของแอปเปิล ที่ทำให้เขาได้ความคิดเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นแรงดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกและเป็นแรงที่ทำให้โลก ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และดาวต่างๆอยู่ในระบบสุริยะ คนทั่วไปมองเห็นสีของรุ้งกินน้ำในท้องฟ้า แสงที่เราเห็นว่าไม่มีสีหรือที่เรียกว่า มีสีขาวเกิด จากสีรุ้งนั้นเอง
นิวตันเป็นคนที่อ่อนไหว เขาไม่ชอบการขัดแย้งกันและมักจะโกรธต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เขาไม่ได้ตีพิมพ์เรื่องแรงโน้มถ่วงเป็นเวลาหลายปี ในระหว่างนั้นเขาได้ศึกษาวิธีที่ สร้างกล้องโทรทรรศน์ และเมื่อเขากลับไปที่ เคมบริดจ์ เขาได้สร้างกล้องโทรทรรศน์แบบใหม่มีตัวสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์นี้ ทำให้เขามีชื่อเสียงและได้รับเชิญให้เข้าร่วมราชสมาคมซึ่งเป็นสมาคมชั้นนำของนักวิททยาศาสตร์ในประเทศอังกฤษ แต่โรเบิร์ต ฮุค ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสมาคมได้วิจารณ์ความคิดของเขาเกี่ยวกับธรรมชาติของแสง นิวตันและฮุค จึงไม่เคยเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเลย
นิวตัน ยังมีสิ่งที่อยู่ในความสนใจนอกเหนือไปจากวิทยาศาสตร์ เขาได้เป็นสมาชิกรัฐสภาในช่วงเวลาสั้นๆ จากนั้นในปี 1699 เขาได้เป็นหัวหน้ากองกษาปณ์ ของราชสำนัก ซึ่งผลิตเหรียญที่ใช้กันในประเทศ
ถึงแม้เขาจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ แต่เขาก็มีความคิดบางอย่างที่แปลกประหลาด เช่น เขาเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ เชื่อในเรื่องทฤษฎี ที่ว่าดวงดาวมีอิทธิพลต่อโชคชะตาของคน เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งเชื่อกันว่าสามารถเปลี่ยนโลหะ เช่น ทองแดงเป็นทองคำได้ในสมัยนิวตันผู้คนมีความเชื่อกันเช่นนี้มากซึ่งปัจจุบัน เราทราบว่าเป็นเรื่องไร้สาระ
ไอแซค นิวตัน เป็นบุคคล ที่มุ่งทำประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่าชีวิตของตนเอง เขามีความสูขอยู่กับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ และการคำนวณภายในห้องทดลองของเขายิ่งกว่าสิ่งอื่นใด เขาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น “เซอร์” เมื่อมีอายุ 60 ปีแล้ว
เซอร์ไอแซค นิวตัน ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 84 ปี และถูกฝังในสุสานวิหารเวสมินสเตอร์ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นอนุสาวรีย์ของเขาตั้งอยู่ แม้ว่าทุกคนจะระลึกถึงเขาว่าเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่ง แต่ตัวเขาเคยพูดว่า “ฉันมองได้ไกลกว่าคนส่วนใหญ่ก็เพราะฉันยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์”
Ivan Petrovich Pavlov:อิวาน พาฟลอฟ
Ivan Petrovich Pavlov
อิวาน พาฟลอฟ
--------------------------------------------------------------------------------
อิวาน พีโตรวิช พาฟลอฟ นักวิทยาศาสตร์และนักจิตวิทยาชาวรัสเซียที่สำคัญคนหนึ่ง เขาได้ชื่อว่าเป็นบิดาของวิชาจิตวิทยาสมัยใหม่ จากการศึกษาการทำงานของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและระบบประสาททำให้เขาพบสาเหตุที่ทำให้มนุษย์และสัตว์ มีพฤติกรรมต่างๆ
เขาเป็นผู้ตั้งทฤษฎี การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ซึ่งมีหลักการว่า “ การเรียนรู้เกิดจากการที่ร่างกายได้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้หลายๆชนิด โดยที่การตอบสนองอย่างเดียวกัน อาจมาจากสิ่งเร้าต่างชนิดกันได้” หากมีการวางเงื่อนไขที่แน่นแฟ้นเพียงพอ อิวาน พาฟลอฟ เกิดเมือปี ค.ศ. 1849 ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย บิดาเป็นนักบวชมีฐานะยากจน ต้องทำการกสิกรรม ควบคู่กับการเป็นนักบวช
เมื่ออายุได้ 8 ปี อิวาน พาฟลอฟ ก็ล้มเจ็บเนื่องจากระบบหายใจ นักบวชรูปหนึ่งซึ่งเป็นพ่อทูล หัวของเขาได้นำเขาไปที่สำนักสงฆ์ใกล้ๆ บ้าน เพื่อให้การดูแลและรักษาจนเขาหายป่วย นักบวชรูปนั้นได้ชักจูงเขาให้ดำเนินชีวิตเรียบง่ายแบบเดียวกับท่าน คอยสอนหนังสือและให้คำแนะนำในการศึกษาจนเขาสามารถเข้าโรงเรียนและเป็นนักเรียนที่เก่งที่สุดในชั้นเรียน วิชาที่อิวาน พาฟลอฟ สนใจที่สุดคือ สรีระวิทยา และได้เข้าศึกษาต่อในระดับที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก จนได้ปริญญาทางวิทยาศาสตร์และได้ใบรับรองให้เป็นแพทย์ได้ ในปีค.ศ. 1891
อิวาน พาฟลอฟได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการทางสรีระวิทยา ที่สถาบันทดลองทางการแพทย์ในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก และใช้เวลานั้นในการศึกษาระบบการย่อยอาหารในมนุษย์ และสัตว์ และได้แต่งตำราเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารจนได้รับรางวัลโนเบล แต่หลังจากนั้นเขาก็ได้เปลี่ยนแนวการวิจัยไปศึกษาเรื่องสมองและระบบประสาท ที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
อิวาน พาฟลอฟ รู้ว่ามนุษย์และสัตว์ จะมีปฏิกิริยาโต้ตอบโดยอัตโนมัติเมื่อได้รับสิ่งเร้าทั้งมีเงื่อนไขและไม่มีเงื่อนไข และพบว่าจะทดลองหลักการนี้กับสัตว์ได้ง่ายกว่ามนุษย์ เพราะมนุษย์สามารถเรียนรู้ที่จะควบคุมปฎิกริยาของตนเองได้ถ้าต้องการ
โดย พาฟลอฟ ได้นำสุนัขมาไว้ในการทดลอง แล้วใช้สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไขคือการสั่นกระดิ่งสุนัขจะกระดิกหาง จากนั้นเขาก็ได้เปลี่ยนสิ่งเร้าใหม่ ใช้สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไขคือ นำเนื้อมาให้สุนัขกิน สุนัขได้ตอบสนองต่อเนื้อคือมีน้ำลายไหล พฤติกรรมน้ำลายไหลของสุนัขเกิดขึ้นตามธรรมชาติในลักษณะไม่มีเงื่อนไข ต่อมามีการสั่นกระดิ่งพร้อมกับยื่นเนื้อให้ สุนัขก็ตอบสนองคือมีน้ำลายไหล
เขาทำเช่นนี้หลายๆครั้ง จนสุนัขรรับรู้ว่าถ้ามีเสียงกระดิ่งแล้วจะต้องมีเนื้อตามมาในลักษณะเป็นสิ่งเดียวกัน จนในที่สุด สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งอย่างเดียวก็ตอบสนองด้วยอาการน้ำลายไหล แสดงว่าเสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้า ที่มีเงื่อนไข ทำให้สุนัขเกิดการเรียนรู้ขึ้นจาการวางเงื่อนไขนั่นเอง อย่างเช่น
เมื่อมีคนถามว่าเคยชิม “มะดัน”หรือไม่ ทันทีที่ได้ยินคำว่า”มะดัน”จะปรากฏว่ามีน้ำลายสอขึ้นในปาก ดังนี้เป็นต้น หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว นักจิตวิทยาหลายคนได้ศึกษาตามแนวคิดของเขา และได้เรียนรู้ถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์มากมาย
อิวาน พาฟลอฟ ถึงแก่กรรมเมื่อปีค.ศ. 1936 ขณะมีอายุได้ 87 ปี
อิวาน พาฟลอฟ
--------------------------------------------------------------------------------
อิวาน พีโตรวิช พาฟลอฟ นักวิทยาศาสตร์และนักจิตวิทยาชาวรัสเซียที่สำคัญคนหนึ่ง เขาได้ชื่อว่าเป็นบิดาของวิชาจิตวิทยาสมัยใหม่ จากการศึกษาการทำงานของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและระบบประสาททำให้เขาพบสาเหตุที่ทำให้มนุษย์และสัตว์ มีพฤติกรรมต่างๆ
เขาเป็นผู้ตั้งทฤษฎี การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ซึ่งมีหลักการว่า “ การเรียนรู้เกิดจากการที่ร่างกายได้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้หลายๆชนิด โดยที่การตอบสนองอย่างเดียวกัน อาจมาจากสิ่งเร้าต่างชนิดกันได้” หากมีการวางเงื่อนไขที่แน่นแฟ้นเพียงพอ อิวาน พาฟลอฟ เกิดเมือปี ค.ศ. 1849 ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย บิดาเป็นนักบวชมีฐานะยากจน ต้องทำการกสิกรรม ควบคู่กับการเป็นนักบวช
เมื่ออายุได้ 8 ปี อิวาน พาฟลอฟ ก็ล้มเจ็บเนื่องจากระบบหายใจ นักบวชรูปหนึ่งซึ่งเป็นพ่อทูล หัวของเขาได้นำเขาไปที่สำนักสงฆ์ใกล้ๆ บ้าน เพื่อให้การดูแลและรักษาจนเขาหายป่วย นักบวชรูปนั้นได้ชักจูงเขาให้ดำเนินชีวิตเรียบง่ายแบบเดียวกับท่าน คอยสอนหนังสือและให้คำแนะนำในการศึกษาจนเขาสามารถเข้าโรงเรียนและเป็นนักเรียนที่เก่งที่สุดในชั้นเรียน วิชาที่อิวาน พาฟลอฟ สนใจที่สุดคือ สรีระวิทยา และได้เข้าศึกษาต่อในระดับที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก จนได้ปริญญาทางวิทยาศาสตร์และได้ใบรับรองให้เป็นแพทย์ได้ ในปีค.ศ. 1891
อิวาน พาฟลอฟได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการทางสรีระวิทยา ที่สถาบันทดลองทางการแพทย์ในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก และใช้เวลานั้นในการศึกษาระบบการย่อยอาหารในมนุษย์ และสัตว์ และได้แต่งตำราเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารจนได้รับรางวัลโนเบล แต่หลังจากนั้นเขาก็ได้เปลี่ยนแนวการวิจัยไปศึกษาเรื่องสมองและระบบประสาท ที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
อิวาน พาฟลอฟ รู้ว่ามนุษย์และสัตว์ จะมีปฏิกิริยาโต้ตอบโดยอัตโนมัติเมื่อได้รับสิ่งเร้าทั้งมีเงื่อนไขและไม่มีเงื่อนไข และพบว่าจะทดลองหลักการนี้กับสัตว์ได้ง่ายกว่ามนุษย์ เพราะมนุษย์สามารถเรียนรู้ที่จะควบคุมปฎิกริยาของตนเองได้ถ้าต้องการ
โดย พาฟลอฟ ได้นำสุนัขมาไว้ในการทดลอง แล้วใช้สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไขคือการสั่นกระดิ่งสุนัขจะกระดิกหาง จากนั้นเขาก็ได้เปลี่ยนสิ่งเร้าใหม่ ใช้สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไขคือ นำเนื้อมาให้สุนัขกิน สุนัขได้ตอบสนองต่อเนื้อคือมีน้ำลายไหล พฤติกรรมน้ำลายไหลของสุนัขเกิดขึ้นตามธรรมชาติในลักษณะไม่มีเงื่อนไข ต่อมามีการสั่นกระดิ่งพร้อมกับยื่นเนื้อให้ สุนัขก็ตอบสนองคือมีน้ำลายไหล
เขาทำเช่นนี้หลายๆครั้ง จนสุนัขรรับรู้ว่าถ้ามีเสียงกระดิ่งแล้วจะต้องมีเนื้อตามมาในลักษณะเป็นสิ่งเดียวกัน จนในที่สุด สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งอย่างเดียวก็ตอบสนองด้วยอาการน้ำลายไหล แสดงว่าเสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้า ที่มีเงื่อนไข ทำให้สุนัขเกิดการเรียนรู้ขึ้นจาการวางเงื่อนไขนั่นเอง อย่างเช่น
เมื่อมีคนถามว่าเคยชิม “มะดัน”หรือไม่ ทันทีที่ได้ยินคำว่า”มะดัน”จะปรากฏว่ามีน้ำลายสอขึ้นในปาก ดังนี้เป็นต้น หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว นักจิตวิทยาหลายคนได้ศึกษาตามแนวคิดของเขา และได้เรียนรู้ถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์มากมาย
อิวาน พาฟลอฟ ถึงแก่กรรมเมื่อปีค.ศ. 1936 ขณะมีอายุได้ 87 ปี
Ivanovich Mendeleev:อิวาโนวิช เมนเดเลเยฟ
Ivanovich Mendeleev
อิวาโนวิช เมนเดเลเยฟ
--------------------------------------------------------------------------------
เมนเดเลเยฟ มีชื่อเต็มว่า ดมิตรี อิวาโนวิช เมนเดเลเยฟ (Dmitri Ivanovich Mendeleev) เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1834 ได้รับการศึกษาวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกจากนักโทษการเมือง ผู้ที่ได้ถูกพระเจ้าซาร์เนรเทศไปอยู่ในไซบีเรีย เขาไม่อาจเข้าไปศึกษาต่อในระดับวิทยาลัยในกรุงมอสโก แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนของบิดาที่มีอิทธิพลให้เข้าไปศึกษาต่อในเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก จนได้เป็นศาสตราจารย์ทางเคมีในวิทยาลัยแห่งนี้ในปี ค.ศ. 1866
ในปี ค.ศ. 1869 เมนเดเลเยฟ ได้ตีพิมพ์ตารางของธาตุที่รู้จักกันในตอนนั้น 63 ชนิด โดยจัดเรียงตามลำดับมวลอะตอม ผลงานของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาเยอรมัน เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้มีโอกาสศึกษากัน ด้วยความสามารถทางด้านเคมีของเขานี่เอง เขาจึงถูกส่งมายังสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาด้านน้ำมันในรัฐเพนซิลวาเนียสำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำมันในประเทศของเขา
เมนเดเลเยฟ ถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ. 1907 ขณะมีอายุได้ 73 ปี
อิวาโนวิช เมนเดเลเยฟ
--------------------------------------------------------------------------------
เมนเดเลเยฟ มีชื่อเต็มว่า ดมิตรี อิวาโนวิช เมนเดเลเยฟ (Dmitri Ivanovich Mendeleev) เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1834 ได้รับการศึกษาวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกจากนักโทษการเมือง ผู้ที่ได้ถูกพระเจ้าซาร์เนรเทศไปอยู่ในไซบีเรีย เขาไม่อาจเข้าไปศึกษาต่อในระดับวิทยาลัยในกรุงมอสโก แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนของบิดาที่มีอิทธิพลให้เข้าไปศึกษาต่อในเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก จนได้เป็นศาสตราจารย์ทางเคมีในวิทยาลัยแห่งนี้ในปี ค.ศ. 1866
ในปี ค.ศ. 1869 เมนเดเลเยฟ ได้ตีพิมพ์ตารางของธาตุที่รู้จักกันในตอนนั้น 63 ชนิด โดยจัดเรียงตามลำดับมวลอะตอม ผลงานของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาเยอรมัน เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้มีโอกาสศึกษากัน ด้วยความสามารถทางด้านเคมีของเขานี่เอง เขาจึงถูกส่งมายังสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาด้านน้ำมันในรัฐเพนซิลวาเนียสำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำมันในประเทศของเขา
เมนเดเลเยฟ ถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ. 1907 ขณะมีอายุได้ 73 ปี
Sunday, December 5, 2010
J. Nicephore Niepce:ยี. แอ็น. นีฟ
J. Nicephore Niepce
ยี. แอ็น. นีฟ
------------------------------------------------------------------------
การถ่ายรูปเป็นศิลปะในการประทับภาพลงบนแผ่นกระดาษโดยใช้เลนส์และแสงช่วย บุคคลคนแรกที่ทำให้ความฝันของมนุษย์ที่จะบันทึกภาพที่ประทับใจและสิ่งที่ควรจดจำได้เป็นความจริงเป็นคนแรกคือ ยี. แอ็น. นีฟ นั่นเอง
ยี. แอ็น. นีฟ วิศวกรชาวฝรั่งเศส เกิดในปี ค.ศ. 1765 เขากับเพื่อนร่วมงานคือ หลุยส์ ดาแกร์ ได้ร่วมงานกัน ภาพแรกที่เกิดขึ้นในโลก คือภาพของหลังคาที่นีฟถ่ายจากหน้าต่างบ้านของเขา เป็นภาพที่ไม่คมชัดนัก และใช้เวลาในการถ่าย (คือให้แสงถูกแผ่นภาพ) นานถึง 8 ชั่วโมง แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการถ่ายภาพ
นีฟถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1833 ก่อนที่งานของเขาจะเสร็จสมบูรณ์ เพื่อนร่วมงานของเขาคือ หลุยส์ ดาแกร์ เป็นผู้สานงานต่อ
ยี. แอ็น. นีฟ
------------------------------------------------------------------------
การถ่ายรูปเป็นศิลปะในการประทับภาพลงบนแผ่นกระดาษโดยใช้เลนส์และแสงช่วย บุคคลคนแรกที่ทำให้ความฝันของมนุษย์ที่จะบันทึกภาพที่ประทับใจและสิ่งที่ควรจดจำได้เป็นความจริงเป็นคนแรกคือ ยี. แอ็น. นีฟ นั่นเอง
ยี. แอ็น. นีฟ วิศวกรชาวฝรั่งเศส เกิดในปี ค.ศ. 1765 เขากับเพื่อนร่วมงานคือ หลุยส์ ดาแกร์ ได้ร่วมงานกัน ภาพแรกที่เกิดขึ้นในโลก คือภาพของหลังคาที่นีฟถ่ายจากหน้าต่างบ้านของเขา เป็นภาพที่ไม่คมชัดนัก และใช้เวลาในการถ่าย (คือให้แสงถูกแผ่นภาพ) นานถึง 8 ชั่วโมง แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการถ่ายภาพ
นีฟถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1833 ก่อนที่งานของเขาจะเสร็จสมบูรณ์ เพื่อนร่วมงานของเขาคือ หลุยส์ ดาแกร์ เป็นผู้สานงานต่อ
James Joule:เจมส์ จูล
James Joule
เจมส์ จูล
------------------------------------------------------------------------
นักวิทยาศาสตร์ซึ่งได้รับเกียรติให้ใช้ชื่อของเขาเป็นชื่อหน่วยของความร้อน ทั้งนี้จากผลงานการค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกลกับพลังงานความร้อน โดยใช้ห้องใต้ดินในบ้านของเขาเอง เป็นห้องทดลอง
เจมส์ เพรสคอท จูล เกิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1818 ที่เมืองซัลฟอร์ด ประเทศอังกฤษ บิดาเป็นเจ้าของโรงต้มกลั่นสุรา เมื่อวัยเยาว์เขาศึกษาอยู่ที่บ้านกับพี่ชายคนโต โดยมีพี่สาวต่างมารดาเป็นคนสอน เมื่อโตขึ้นบิดาได้ส่งไปศึกษาวิชาต่างๆโดยเฉพาะวิทยาศาสตร์กับจอห์น ดาลตัน นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น จากการได้คลุกคลี และการได้รับคำแนะนำจากดาลตันและนำการนำมาทดลองโดยตัวเอง ทำให้จูลมีความสนใจในการวิจัยค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์มากกว่าการต้มกลั่นสุรา
ในปี ค.ศ. 1847 จูลพบว่าพลังงานกลสามารถเปลี่ยนไปเป็นความร้อนได้ เมื่อเขาใช้ค้อนทุบที่ปลายท่อนเหล็กก็จะรู้สึกทันทีว่าร้อน ซึ่งเกิดจากการดูดพลังงานกลจากกล้ามเนื้อที่บังคับค้อนให้ทุบแล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน เขาทำการทดลองหลายครั้งได้ผลสรุปว่า “สมมูลย์กลของความร้อน คือปริมาณของงานที่สิ้นเปลืองไปในการทำให้เกิดความร้อนได้ 1 หน่วยพอดี”
จูลได้รับการยกย่องโดยใช้ชื่อของเขาเป็นชื่อหน่วยของความร้อนโดย 1 จูล= 4.2 แคลอรี่ เขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 1889 เมื่ออายุได้ 71 ปี
เจมส์ จูล
------------------------------------------------------------------------
นักวิทยาศาสตร์ซึ่งได้รับเกียรติให้ใช้ชื่อของเขาเป็นชื่อหน่วยของความร้อน ทั้งนี้จากผลงานการค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกลกับพลังงานความร้อน โดยใช้ห้องใต้ดินในบ้านของเขาเอง เป็นห้องทดลอง
เจมส์ เพรสคอท จูล เกิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1818 ที่เมืองซัลฟอร์ด ประเทศอังกฤษ บิดาเป็นเจ้าของโรงต้มกลั่นสุรา เมื่อวัยเยาว์เขาศึกษาอยู่ที่บ้านกับพี่ชายคนโต โดยมีพี่สาวต่างมารดาเป็นคนสอน เมื่อโตขึ้นบิดาได้ส่งไปศึกษาวิชาต่างๆโดยเฉพาะวิทยาศาสตร์กับจอห์น ดาลตัน นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น จากการได้คลุกคลี และการได้รับคำแนะนำจากดาลตันและนำการนำมาทดลองโดยตัวเอง ทำให้จูลมีความสนใจในการวิจัยค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์มากกว่าการต้มกลั่นสุรา
ในปี ค.ศ. 1847 จูลพบว่าพลังงานกลสามารถเปลี่ยนไปเป็นความร้อนได้ เมื่อเขาใช้ค้อนทุบที่ปลายท่อนเหล็กก็จะรู้สึกทันทีว่าร้อน ซึ่งเกิดจากการดูดพลังงานกลจากกล้ามเนื้อที่บังคับค้อนให้ทุบแล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน เขาทำการทดลองหลายครั้งได้ผลสรุปว่า “สมมูลย์กลของความร้อน คือปริมาณของงานที่สิ้นเปลืองไปในการทำให้เกิดความร้อนได้ 1 หน่วยพอดี”
จูลได้รับการยกย่องโดยใช้ชื่อของเขาเป็นชื่อหน่วยของความร้อนโดย 1 จูล= 4.2 แคลอรี่ เขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 1889 เมื่ออายุได้ 71 ปี
James Watt;เจมส์ วัตต์
James Watt
เจมส์ วัตต์
---------------------------------------------------------------------
นักวิทยาศาสตร์ที่เริ่มต้นจากการเป็นผู้ช่วยในห้องทดลอง โดยมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลเครื่องมือวิทยาศาสตร์และจากนิสัยรักการทดลองของเขา ทำให้เขาประสบความสำเร็จในการพัฒนาผลงานดั้งเดิมของนักวิทยาศาสตร์รุ่นพี่ให้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
เจมส์วัตต์ เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1736 ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศอังกฤษ เขามีนิสัยชอบในการประดิษฐ์คิดค้นมาตั้งแต่เด็กและอยากเรียนรู้ในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์และในการคำนวณ พอรุ่นหนุ่มเขาก็สมัครเข้าเป็นลูกมือช่างเครื่องกลที่บ้านเกิด ในราวปี ค.ศ. 1756 เขาก็ทำงานเป็นลูกมือของศาสตราจารย์คนหนึ่งในมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ และมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลเครื่องมือวิทยาศาสตร์
ในช่วงนั้น โทมัส นิวโคแมน วิศวกรชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรที่ใช้แรงขับเคลื่อนไอน้ำได้สำเร็จ เครื่องจักรของเขาใช้ในการปั๊มน้ำออกจากเหมืองถ่านหิน แต่เจมส์ วัตต์เห็นว่า เครื่องจักรของนิวโคแมนทำงานช้า ในราวปี ค.ศ. 1764 เขาจึงได้เริ่มสานงานโดยการดัดแปลงเครื่องจักรของนิวโคแมนให้ดีขึ้น โดยการพัฒนาให้แกนของลูกสูบหมุนเร็วขึ้นและทำงานได้เป็น 2 เท่าจากเดิม
นอกจากนี้ เขายังคิดค้นหน่วยทางวิทยาศาสตร์สำหรับใช้คำนวณแรงงานขึ้น โดยการใช้ม้าแข็งแรงตัวหนึ่งให้ยกของหนัก 33,000 ปอนด์ เป็นระยะทาง 1 ฟุตใน 1 นาที ให้เรียกแรงงานนี้ว่า หนึ่งแรงม้า ซึ่งในปัจจุบันนี้ 1 แรงม้าก็คืองานที่มีค่าเท่ากับ 33,000 ฟุต/ปอนด์ในหนึ่งนาทีนั่นเอง
ถึงแม้จะไม่อาจนับว่า เจมส์ วัตต์ เป็นผู้สร้างเครื่องจักรไอน้ำขึ้นเป็นคนแรกก็ตาม แต่ก็ต้องนับว่า เขาเป็นผู้วิวัฒนาการเครื่องจักไอน้ำให้ดีขึ้น และเจริญแพร่หลายมากขึ้น
เจมส์ วัตต์ ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ 1819 เมื่อมีอายุได้ 83 ปี
เจมส์ วัตต์
---------------------------------------------------------------------
นักวิทยาศาสตร์ที่เริ่มต้นจากการเป็นผู้ช่วยในห้องทดลอง โดยมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลเครื่องมือวิทยาศาสตร์และจากนิสัยรักการทดลองของเขา ทำให้เขาประสบความสำเร็จในการพัฒนาผลงานดั้งเดิมของนักวิทยาศาสตร์รุ่นพี่ให้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
เจมส์วัตต์ เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1736 ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศอังกฤษ เขามีนิสัยชอบในการประดิษฐ์คิดค้นมาตั้งแต่เด็กและอยากเรียนรู้ในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์และในการคำนวณ พอรุ่นหนุ่มเขาก็สมัครเข้าเป็นลูกมือช่างเครื่องกลที่บ้านเกิด ในราวปี ค.ศ. 1756 เขาก็ทำงานเป็นลูกมือของศาสตราจารย์คนหนึ่งในมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ และมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลเครื่องมือวิทยาศาสตร์
ในช่วงนั้น โทมัส นิวโคแมน วิศวกรชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรที่ใช้แรงขับเคลื่อนไอน้ำได้สำเร็จ เครื่องจักรของเขาใช้ในการปั๊มน้ำออกจากเหมืองถ่านหิน แต่เจมส์ วัตต์เห็นว่า เครื่องจักรของนิวโคแมนทำงานช้า ในราวปี ค.ศ. 1764 เขาจึงได้เริ่มสานงานโดยการดัดแปลงเครื่องจักรของนิวโคแมนให้ดีขึ้น โดยการพัฒนาให้แกนของลูกสูบหมุนเร็วขึ้นและทำงานได้เป็น 2 เท่าจากเดิม
นอกจากนี้ เขายังคิดค้นหน่วยทางวิทยาศาสตร์สำหรับใช้คำนวณแรงงานขึ้น โดยการใช้ม้าแข็งแรงตัวหนึ่งให้ยกของหนัก 33,000 ปอนด์ เป็นระยะทาง 1 ฟุตใน 1 นาที ให้เรียกแรงงานนี้ว่า หนึ่งแรงม้า ซึ่งในปัจจุบันนี้ 1 แรงม้าก็คืองานที่มีค่าเท่ากับ 33,000 ฟุต/ปอนด์ในหนึ่งนาทีนั่นเอง
ถึงแม้จะไม่อาจนับว่า เจมส์ วัตต์ เป็นผู้สร้างเครื่องจักรไอน้ำขึ้นเป็นคนแรกก็ตาม แต่ก็ต้องนับว่า เขาเป็นผู้วิวัฒนาการเครื่องจักไอน้ำให้ดีขึ้น และเจริญแพร่หลายมากขึ้น
เจมส์ วัตต์ ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ 1819 เมื่อมีอายุได้ 83 ปี
Joharnes Andres Grib Fibiger:โจฮานเนส แอนเดรียส กริบ ฟิบิเจอร์
Joharnes Andres Grib Fibiger
โจฮานเนส แอนเดรียส กริบ ฟิบิเจอร์
------------------------------------------------------------------
โจฮานเนส แอนเดรียส กริบ ฟิบิเจอร์ เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน ปี ค.ศ. 1867 ที่เมืองซิลเคบอร์ก ประเทศเดนมาร์ก บิดาของเขาเป็นนายแพทย์ ส่วนมารดาเป็นนักประพันธ์
ฟิบิเจอร์เจริญรอยตามบิดาโดยการเรียนทางด้านการแพทย์ จนไดัรับปริญญาตรีในปี ค.ศ. 1883 และปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1890 จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน จากการค้นคว้าในปี ค.ศ. 1913 เขาได้ค้นพบว่าโรคมะเร็งสามารถเพาะให้เกิดขึ้นได้ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังไม่มีผู้ใดสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างเด่นชัด
เป็นที่เชื่อกันมานานแล้วว่า การเกิดโรคมะเร็งนั้นมีสาเหตุมาจากการที่อวัยวะถูกรบกวนหรือเสียดสี หรือจากความร้อน หรือจากการได้รับสารเคมีกัมมันตภาพรังสี ติดต่อกันเป็นเวลานาน แต่เมื่อทำการทดลองกับสัตว์โดยให้ถูกสารเคมี หรือกัมมันตภาพรังสีด้วยวิธีเดียวกับที่ทำให้คนป่วยได้รับแล้ว การทดลองกลับไม่ได้ผลเพราะสัตว์เหล่านั้นไม่เป็นมะเร็งเลย
ฟิบิเจอร์พบว่าสัตว์จะเกิดมะเร็งได้จากพยาธิขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จากการที่เขาค้นพบว่าหนูสามตัวที่อยู่ในห้องทดลองเป็นเนื้องอกที่กระเพาะ และที่กลางเนื้องอกนั้นเขาพบพยาธิตัวหนอนในวงศ์สไปรอพเทอรา เขาได้ให้หนูที่มีสุขภาพดีกินเนื้องอกที่เอามาจากหนูที่ป่วยซึ่งมีพยาธิหรือไข่ของมัน แต่การทดลองไม่ได้ผลคือหนูไม่ป่วยเป็นมะเร็ง เขาจึงคิดว่าน่าจะมีวัฏจักรที่เกิดในตัวสัตว์อีกชนิดหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นที่ฟักตัวชั่วคราว
ต่อมาเขาได้พบว่าหนูโรงงานแห่งหนึ่งเป็นเนื้องอกและในเนื้องอกนั้นก็มีพยาธิชนิดเดียวกับที่เขาพบเมื่อปี ค.ศ. 1907 ในโรงงานห่งนั้นมีแมลงสาบเป็นจำนวนมากและพยาธิชนิดนั้นอาศัยแมลงสาบเป็นที่ฟักตัว โดยเริ่มจากแมลงสาบกินสิ่งขับถ่ายของหนูที่มีไข่พยาธิเข้าไป ไข่กลายเป็นตัวอ่อนในทางเดินอาหาร และตัวอ่อนก็เข้าไปอยู่ในกล้ามเนื้อโดยสร้างเกราะหุ้มตัวอยู่ เมื่อหนูกินแมลงสาบเข้าไป ตัวอ่อนของพยาธิก็จะเจริญเติบโตเป็นตัวแก่อยู่ในกระเพาะของหนู เมื่อหนูกินแมลงสาบที่มีตัวอ่อนนี้เข้าไป สามารถทำให้เกิดเนื้องอกมะเร็งในหนูได้ นับเป็นครั้งแรกที่ค้นพบเชื้อพยาธิสไปรอพเทอรา คาร์ซิดมา สามารถเปลี่ยนเซลล์ปกติให้กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ในการทดลอง จากการค้นพบของฟิบิเจอร์นั้นเอง นับเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญในการค้นคว้าวิจัยสิ่งต่างๆที่ก่อให้เกิดมะเร็งของนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อๆมา
โจฮานเนส แอนเดรียส กริบ ฟิบิเจอร์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 มกราคม ปี ค.ศ. 1928 ด้วยโรคหัวใจและมะเร็งในลำไส้ใหญ่ เมื่อมีอายุได้ 61 ปี
โจฮานเนส แอนเดรียส กริบ ฟิบิเจอร์
------------------------------------------------------------------
โจฮานเนส แอนเดรียส กริบ ฟิบิเจอร์ เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน ปี ค.ศ. 1867 ที่เมืองซิลเคบอร์ก ประเทศเดนมาร์ก บิดาของเขาเป็นนายแพทย์ ส่วนมารดาเป็นนักประพันธ์
ฟิบิเจอร์เจริญรอยตามบิดาโดยการเรียนทางด้านการแพทย์ จนไดัรับปริญญาตรีในปี ค.ศ. 1883 และปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1890 จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน จากการค้นคว้าในปี ค.ศ. 1913 เขาได้ค้นพบว่าโรคมะเร็งสามารถเพาะให้เกิดขึ้นได้ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังไม่มีผู้ใดสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างเด่นชัด
เป็นที่เชื่อกันมานานแล้วว่า การเกิดโรคมะเร็งนั้นมีสาเหตุมาจากการที่อวัยวะถูกรบกวนหรือเสียดสี หรือจากความร้อน หรือจากการได้รับสารเคมีกัมมันตภาพรังสี ติดต่อกันเป็นเวลานาน แต่เมื่อทำการทดลองกับสัตว์โดยให้ถูกสารเคมี หรือกัมมันตภาพรังสีด้วยวิธีเดียวกับที่ทำให้คนป่วยได้รับแล้ว การทดลองกลับไม่ได้ผลเพราะสัตว์เหล่านั้นไม่เป็นมะเร็งเลย
ฟิบิเจอร์พบว่าสัตว์จะเกิดมะเร็งได้จากพยาธิขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จากการที่เขาค้นพบว่าหนูสามตัวที่อยู่ในห้องทดลองเป็นเนื้องอกที่กระเพาะ และที่กลางเนื้องอกนั้นเขาพบพยาธิตัวหนอนในวงศ์สไปรอพเทอรา เขาได้ให้หนูที่มีสุขภาพดีกินเนื้องอกที่เอามาจากหนูที่ป่วยซึ่งมีพยาธิหรือไข่ของมัน แต่การทดลองไม่ได้ผลคือหนูไม่ป่วยเป็นมะเร็ง เขาจึงคิดว่าน่าจะมีวัฏจักรที่เกิดในตัวสัตว์อีกชนิดหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นที่ฟักตัวชั่วคราว
ต่อมาเขาได้พบว่าหนูโรงงานแห่งหนึ่งเป็นเนื้องอกและในเนื้องอกนั้นก็มีพยาธิชนิดเดียวกับที่เขาพบเมื่อปี ค.ศ. 1907 ในโรงงานห่งนั้นมีแมลงสาบเป็นจำนวนมากและพยาธิชนิดนั้นอาศัยแมลงสาบเป็นที่ฟักตัว โดยเริ่มจากแมลงสาบกินสิ่งขับถ่ายของหนูที่มีไข่พยาธิเข้าไป ไข่กลายเป็นตัวอ่อนในทางเดินอาหาร และตัวอ่อนก็เข้าไปอยู่ในกล้ามเนื้อโดยสร้างเกราะหุ้มตัวอยู่ เมื่อหนูกินแมลงสาบเข้าไป ตัวอ่อนของพยาธิก็จะเจริญเติบโตเป็นตัวแก่อยู่ในกระเพาะของหนู เมื่อหนูกินแมลงสาบที่มีตัวอ่อนนี้เข้าไป สามารถทำให้เกิดเนื้องอกมะเร็งในหนูได้ นับเป็นครั้งแรกที่ค้นพบเชื้อพยาธิสไปรอพเทอรา คาร์ซิดมา สามารถเปลี่ยนเซลล์ปกติให้กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ในการทดลอง จากการค้นพบของฟิบิเจอร์นั้นเอง นับเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญในการค้นคว้าวิจัยสิ่งต่างๆที่ก่อให้เกิดมะเร็งของนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อๆมา
โจฮานเนส แอนเดรียส กริบ ฟิบิเจอร์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 มกราคม ปี ค.ศ. 1928 ด้วยโรคหัวใจและมะเร็งในลำไส้ใหญ่ เมื่อมีอายุได้ 61 ปี
Johann Gutenberg:โยฮาน กูเตนเบิร์ก
Johann Gutenberg
โยฮาน กูเตนเบิร์ก
----------------------------------
นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ในศตวรรษที่ 15 เขาเป็นผู้ประดิษฐ์ตัวเรียงพิมพ์ด้วยโลหะและเป็นคนแรกที่นำการพิมพ์หนังสือเข้าสู่ทวีปยุโรป หนังสือเล่มแรกของเขาคือหนังสือพระคัมภีร์ภาษาลาติน พิมพ์ในราวปี ค.ศ. 1455
โยฮาน กูเตนเบิร์ก
----------------------------------
นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ในศตวรรษที่ 15 เขาเป็นผู้ประดิษฐ์ตัวเรียงพิมพ์ด้วยโลหะและเป็นคนแรกที่นำการพิมพ์หนังสือเข้าสู่ทวีปยุโรป หนังสือเล่มแรกของเขาคือหนังสือพระคัมภีร์ภาษาลาติน พิมพ์ในราวปี ค.ศ. 1455
Sunday, November 28, 2010
John Baird:จอห์น เบียร์ด
John Baird
จอห์น เบียร์ด
----------------------------------------------------------------------
สิ่งประดิษฐ์หลายอย่างบางครั้งก็ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์เป็นคนแรก เพราะเป็นผลงานของหลายๆคน นักวิทยาศาสตร์บางท่านก็เป็นผู้สานงานต่อผลงานของคนอื่นจนสำเร็จ อาทิ เครื่องรับโทรทัศน์ ที่เป็นผลงานที่มาจากหลายคน
แต่บุคคลแรกที่ได้แสดงให้สาธารณชนได้ชมเป็นคนแรกในปี 1915 ก็คือ จอห์น โลกี้ เบียร์ด นั่นเอง
จอห์น โลกี้ เบียร์ด เกิดในปี ค.ศ. 1888 เป็นบุตรชายของเสมียนที่เข้มงวด ในวัยเด็กเขามักจะเจ็บป่วยเสมอ และไม่ชอบไปโรงเรียน แต่กลับชอบประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เช่น เครื่องร่อนที่ทำให้เขาบาดเจ็บเพราะตกจากหลังคาบ้าน
หลังจากเรียนจบจากวิศวกรรมไฟฟ้าจากกลาสโกว์แล้วก็เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยวิศวกรอยู่พักหนึ่ง ก็ต้องออกจากงานเพราะหยุดงานบ่อยครั้ง เนื่องจากอาการเจ็บป่วย จึงทำการหาเลี้ยงชีพโดยวิธีอื่น อาทิ ทำของขายเช่น แยมและสบู่ แต่ก็ประสบความล้มเหลว
แรงบันดาลใจให้จอห์น เบียร์ด คิดสร้างโทรทัศน์ ก็เนื่องมาจากการที่ถูกลิเอลโม มาร์โคนี ได้ประดิษฐ์เครื่องส่งสัญญาณและรับสัญญาณวิทยุทางไกลเป็นผลสำเร็จ ความคิดนี้ทำให้เบียร์ด จินตนาการถึงการส่งภาพด้วยคลื่นวิทยุขึ้นมาบ้าง
นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ค้นพบว่าเมื่อแสงตกลงมาบนวัตถุที่ไวต่อแสงที่เรียกว่า ซีเลเนียม จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ถ้าแสงสว่างมากขึ้น กระแสไฟฟ้าก็แรงขึ้นด้วย ภาพถ่ายที่ดีมักจะมีบริเวณสว่างและเงาที่มีความเข้มต่างๆกัน
ดังนั้นถ้านำภาพถ่ายมาวางใกล้แผ่นซีเลเนียมและให้ลำแสงส่องไปยังภาพถ่ายและเคลื่อนที่ไปทั่วๆภาพ ส่วนสว่างและมืดของภาพจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ากำลังต่างๆกันจากแผ่นซีเลเนียม วิธีการนี้เรียกว่าการกวาดภาพ จากนั้นกระแสไฟฟ้าจะป้อนไปยังเครื่องแปลสัญญาณแล้วส่งไปยังสายไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุซึ่งจะมีเครื่องรับสัญญาณจับสัญญาณเหล่านี้แล้วเปลี่ยนให้เป็นแสงอีก ทำให้เกิดภาพเดิมขึ้นอีก
วิธีการนี้เป็นการผลิตภาพนิ่งซึ่งเป็นวิธีที่หนังสือพิมพ์ได้รับภาพข่าวจากทั่วโลก
แต่สำหรับโทรทัศน์ภาพต้องมีการเคลื่อนไหว เราได้อ่านวิธีการทำให้เห็นภาพเคลื่อนไหวในภาพยนตร์ที่ฉายบนจอ โดยการฉายภาพหลายๆภาพติดต่อกันให้มีความเร็วพอที่ตามนุษย์จะมองไม่เห็นรอยต่อระหว่างภาพทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นภาพต่อเนื่อง ในโทรทัศน์ก็ใช้วิธีเดียวกันนั้น แต่มีปัญหาที่ว่าต้องกวาดภาพไป และเปลี่ยนให้เป็นกระแสไฟฟ้า เปลี่ยนสัญญาณและเปลี่ยนกลับเป็นภาพซึ่งต้องทำให้ได้ 20 ภาพต่อวินาที เพื่อให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวนั้นต่อเนื่องกัน
เบียร์ดทำงานในห้องนอน เขาสร้างเครื่องโทรทัศน์เป็นเครื่องแรกในปี ค.ศ. 1925 และกวาดภาพด้วยจานใบหนึ่งซึ่งเขาเจาะรูหลายๆรู แล้วหมุนจานอย่างเร็วบนแกนซึ่งใช้เข็มถักไหมพรม เขาฉายแสงไปบนจานที่หมุนทำให้ส่องภาพไปตามลำดับและเปลี่ยนแสงเหล่านั้น ให้เป็นกระแสไฟฟ้าซึ่งจะถูกเปลี่ยนกลับให้เป็นภาพในเครื่องรับสัญญาณวางอยู่ห่างจากเครื่องส่งเพียง 1 เมตรกว่า
หลังจากการทำงานนี้ไม่นานเขาก็เดินทางไปร้านเซลฟริดจ์ในลอนดอนแล้วสาธิตให้เจ้าของชม ในปี ค.ศ. 1925 เจ้าของร้านทำสัญญาจ้างให้เขาออกโทรทัศน์วันละ 3 รายการในร้าน ภาพที่เห็นไม่ชัดนัก แต่เครื่องก็ทำงานได้ และประชาชนให้ความสนใจ ในปีต่อมาเขาสาธิตให้หนังสือพิมพ์ชม จากนั้นเขาไปยัง บีบีซี และถึงแม้ว่าภาพของเขาจะไม่ชัดเจน แต่บีบีซีก็ให้กำลังใจสนับสนุน
ในปี ค.ศ. 1929 มีรายการโทรทัศน์ของบีบีซีส่งออกอากาศ และเริ่มมีการสร้างเครื่องรับโทรทัศน์ ในปี ค.ศ. 1930 เริ่มมีเสียง และเริ่มถ่ายทอดการแสดงละครทางโทรทัศน์ ในปีต่อมาได้มีการถ่ายทอดการแข่งม้าเดอร์บี้ทางโทรทัศน์ในกรุงลอนดอน
จอห์น เบียร์ด ถึงแก่กรรมด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ขณะที่เขากำลังคิดและพัฒนาในการส่งภาพเป็นสีในปี ค.ศ. 1946
จอห์น เบียร์ด
----------------------------------------------------------------------
สิ่งประดิษฐ์หลายอย่างบางครั้งก็ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์เป็นคนแรก เพราะเป็นผลงานของหลายๆคน นักวิทยาศาสตร์บางท่านก็เป็นผู้สานงานต่อผลงานของคนอื่นจนสำเร็จ อาทิ เครื่องรับโทรทัศน์ ที่เป็นผลงานที่มาจากหลายคน
แต่บุคคลแรกที่ได้แสดงให้สาธารณชนได้ชมเป็นคนแรกในปี 1915 ก็คือ จอห์น โลกี้ เบียร์ด นั่นเอง
จอห์น โลกี้ เบียร์ด เกิดในปี ค.ศ. 1888 เป็นบุตรชายของเสมียนที่เข้มงวด ในวัยเด็กเขามักจะเจ็บป่วยเสมอ และไม่ชอบไปโรงเรียน แต่กลับชอบประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เช่น เครื่องร่อนที่ทำให้เขาบาดเจ็บเพราะตกจากหลังคาบ้าน
หลังจากเรียนจบจากวิศวกรรมไฟฟ้าจากกลาสโกว์แล้วก็เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยวิศวกรอยู่พักหนึ่ง ก็ต้องออกจากงานเพราะหยุดงานบ่อยครั้ง เนื่องจากอาการเจ็บป่วย จึงทำการหาเลี้ยงชีพโดยวิธีอื่น อาทิ ทำของขายเช่น แยมและสบู่ แต่ก็ประสบความล้มเหลว
แรงบันดาลใจให้จอห์น เบียร์ด คิดสร้างโทรทัศน์ ก็เนื่องมาจากการที่ถูกลิเอลโม มาร์โคนี ได้ประดิษฐ์เครื่องส่งสัญญาณและรับสัญญาณวิทยุทางไกลเป็นผลสำเร็จ ความคิดนี้ทำให้เบียร์ด จินตนาการถึงการส่งภาพด้วยคลื่นวิทยุขึ้นมาบ้าง
นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ค้นพบว่าเมื่อแสงตกลงมาบนวัตถุที่ไวต่อแสงที่เรียกว่า ซีเลเนียม จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ถ้าแสงสว่างมากขึ้น กระแสไฟฟ้าก็แรงขึ้นด้วย ภาพถ่ายที่ดีมักจะมีบริเวณสว่างและเงาที่มีความเข้มต่างๆกัน
ดังนั้นถ้านำภาพถ่ายมาวางใกล้แผ่นซีเลเนียมและให้ลำแสงส่องไปยังภาพถ่ายและเคลื่อนที่ไปทั่วๆภาพ ส่วนสว่างและมืดของภาพจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ากำลังต่างๆกันจากแผ่นซีเลเนียม วิธีการนี้เรียกว่าการกวาดภาพ จากนั้นกระแสไฟฟ้าจะป้อนไปยังเครื่องแปลสัญญาณแล้วส่งไปยังสายไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุซึ่งจะมีเครื่องรับสัญญาณจับสัญญาณเหล่านี้แล้วเปลี่ยนให้เป็นแสงอีก ทำให้เกิดภาพเดิมขึ้นอีก
วิธีการนี้เป็นการผลิตภาพนิ่งซึ่งเป็นวิธีที่หนังสือพิมพ์ได้รับภาพข่าวจากทั่วโลก
แต่สำหรับโทรทัศน์ภาพต้องมีการเคลื่อนไหว เราได้อ่านวิธีการทำให้เห็นภาพเคลื่อนไหวในภาพยนตร์ที่ฉายบนจอ โดยการฉายภาพหลายๆภาพติดต่อกันให้มีความเร็วพอที่ตามนุษย์จะมองไม่เห็นรอยต่อระหว่างภาพทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นภาพต่อเนื่อง ในโทรทัศน์ก็ใช้วิธีเดียวกันนั้น แต่มีปัญหาที่ว่าต้องกวาดภาพไป และเปลี่ยนให้เป็นกระแสไฟฟ้า เปลี่ยนสัญญาณและเปลี่ยนกลับเป็นภาพซึ่งต้องทำให้ได้ 20 ภาพต่อวินาที เพื่อให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวนั้นต่อเนื่องกัน
เบียร์ดทำงานในห้องนอน เขาสร้างเครื่องโทรทัศน์เป็นเครื่องแรกในปี ค.ศ. 1925 และกวาดภาพด้วยจานใบหนึ่งซึ่งเขาเจาะรูหลายๆรู แล้วหมุนจานอย่างเร็วบนแกนซึ่งใช้เข็มถักไหมพรม เขาฉายแสงไปบนจานที่หมุนทำให้ส่องภาพไปตามลำดับและเปลี่ยนแสงเหล่านั้น ให้เป็นกระแสไฟฟ้าซึ่งจะถูกเปลี่ยนกลับให้เป็นภาพในเครื่องรับสัญญาณวางอยู่ห่างจากเครื่องส่งเพียง 1 เมตรกว่า
หลังจากการทำงานนี้ไม่นานเขาก็เดินทางไปร้านเซลฟริดจ์ในลอนดอนแล้วสาธิตให้เจ้าของชม ในปี ค.ศ. 1925 เจ้าของร้านทำสัญญาจ้างให้เขาออกโทรทัศน์วันละ 3 รายการในร้าน ภาพที่เห็นไม่ชัดนัก แต่เครื่องก็ทำงานได้ และประชาชนให้ความสนใจ ในปีต่อมาเขาสาธิตให้หนังสือพิมพ์ชม จากนั้นเขาไปยัง บีบีซี และถึงแม้ว่าภาพของเขาจะไม่ชัดเจน แต่บีบีซีก็ให้กำลังใจสนับสนุน
ในปี ค.ศ. 1929 มีรายการโทรทัศน์ของบีบีซีส่งออกอากาศ และเริ่มมีการสร้างเครื่องรับโทรทัศน์ ในปี ค.ศ. 1930 เริ่มมีเสียง และเริ่มถ่ายทอดการแสดงละครทางโทรทัศน์ ในปีต่อมาได้มีการถ่ายทอดการแข่งม้าเดอร์บี้ทางโทรทัศน์ในกรุงลอนดอน
จอห์น เบียร์ด ถึงแก่กรรมด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ขณะที่เขากำลังคิดและพัฒนาในการส่งภาพเป็นสีในปี ค.ศ. 1946
John Dalton:จอห์น ดาลตัน
John Dalton
จอห์น ดาลตัน
-------------------------------------------------------------------------
จอห์น ดาลตัน เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1766 ในประเทศอังกฤษ หลังจากจบการศึกษาโดยได้รับปริญยาเอกจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เขาก็เริ่มต้นด้วยงานในด้านอุตุนิยมวิทยา โดยได้ทำบันทึกกาลอากาศประจำวันเป็นเวลานานถึง 46 ปี
และจากการที่เขาเป็นคนตาบอดสี ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งสำหรับเขาในการสังเกตการเปลี่ยนแปลงสีของสารเคมี เขาจึงได้ทำการค้นคว้าทางด้านการมีตาบอดสีเป็นคนแรก และเป็นคนแรกที่ให้ทฤษฎีทางอะตอมของสาร ความคิดของดอลตันมีว่า “ธาตุทั้งหลายประกอบด้วยอะตอมที่อาจสลายได้ แต่ไม่อาจแบ่งต่อไปได้อีก และมีขนาดเล็กมาก” และ “สารทั้งหลายประกอบด้วยการวมตัวของอะตอมเหล่านี้” เป็นที่ยอมรับของนักเคมีส่วนมาก
จอห์น ดอลตัน ถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ. 1844 ขณะมีอายุได้ 78 ปี
จอห์น ดาลตัน
-------------------------------------------------------------------------
จอห์น ดาลตัน เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1766 ในประเทศอังกฤษ หลังจากจบการศึกษาโดยได้รับปริญยาเอกจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เขาก็เริ่มต้นด้วยงานในด้านอุตุนิยมวิทยา โดยได้ทำบันทึกกาลอากาศประจำวันเป็นเวลานานถึง 46 ปี
และจากการที่เขาเป็นคนตาบอดสี ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งสำหรับเขาในการสังเกตการเปลี่ยนแปลงสีของสารเคมี เขาจึงได้ทำการค้นคว้าทางด้านการมีตาบอดสีเป็นคนแรก และเป็นคนแรกที่ให้ทฤษฎีทางอะตอมของสาร ความคิดของดอลตันมีว่า “ธาตุทั้งหลายประกอบด้วยอะตอมที่อาจสลายได้ แต่ไม่อาจแบ่งต่อไปได้อีก และมีขนาดเล็กมาก” และ “สารทั้งหลายประกอบด้วยการวมตัวของอะตอมเหล่านี้” เป็นที่ยอมรับของนักเคมีส่วนมาก
จอห์น ดอลตัน ถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ. 1844 ขณะมีอายุได้ 78 ปี
Joseph Priesley:โจเซฟ พริสต์เลย์
Joseph Priesley
โจเซฟ พริสต์เลย์
-------------------------------------------------------------------------
นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบก๊าซออกซิเจนเป็นคนแรก เป็นผู้ที่มีมันสมองพิเศษ เรียนรู้ได้เร็ว แต่ถูกชาวอังกฤษต่อต้าน เพราะเหตุที่เขานิยมการปฏิวัติในฝรั่งเศสและอเมริกา จนถูกขู่ทำร้ายร่างกายจนต้องอพยพไปจากอังกฤษไปอยู่อเมริกาตลอดชีวิต
โจเซฟ พริสต์เลย์ เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.1733 ที่ยอร์กเชียร์ ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวช่างทอผ้า เมื่อเป็นเด็กค่อนข้างบอบบางขี้โรค แต่สนใจในทางตำรับตำราและภาษาศาสตร์ทุกชนิด ภายหลังจบการศึกษาเขาได้ทำงานเป็นครูสอนทางด้านภาษาที่วอร์ชิงตัน
ในสถาบันแห่งนี้ โจเซฟ ได้เคยฟังการบรรยายเกี่ยวกับวิชาเคมีบ่อยๆ ประกอบกับได้เคยไปชมกิจการของโรงงานทำเบียร์แห่งหนึ่ง ได้เห็นการหมักและผลิตเบียร์ด้วยเชื้อ โดยมีก๊าซชนิดหนึ่งมีกลิ่นออกมาคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์นั่นเอง เมื่อเขาได้ทำการทดสอบคุณสมบัติของก๊าซนี้ดูก็พบว่าเป็นก๊าซไม่ติดไฟ เขาจึงคิดที่จะค้นหาก๊าซอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นเองจากการทดลอง
ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1774 เขาจึงค้นพบก๊าซออกซิเจน จากการเผาผงปรอททองแดงด้วยเลนส์รวมแสง อันมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว วิธีทำของเขาก็คือ ให้แสงอาทิตย์ส่องผ่านเลนส์ มารวมกันที่จุดๆหนึ่ง แล้วเอาผงปรอททองแดงมาวางไว้ที่จุดนี้ ผงปรอททองแดงถูกแผดเผาจากความร้อนของดวงอาทิตย์หนักเข้าไม่ช้าก็ละลายตัว ทำให้เกิดก๊าซชนิดหนึ่งระเหยออกมา ก๊าซชนิดนี้ไม่มีสี แต่มีคุณสมบัติช่วยให้ไฟติด มีแสงสว่างมากกว่าธรรมดา ทั้งยังช่วยให้สัตว์ดำรงชีวิตอยู่ได้นานกว่าอากาศธรรมดา เขาขนานนามก๊าซชนิดว่า “Dephlogisticated Air “ แต่ต่อมาภายหลัง ลาวัวซิเอร์ได้ขนานนามก๊าซนี้ใหม่ว่า “ออกซิเจน” (Oxygen)
นอกจากนั้น โจเซฟ พริสต์เลย์ ยังพบวิธีจับก๊าซโดยไล่ที่น้ำได้พบออกไซน์ของไนโตรเจน พบก๊าซของกรดเกลือ ก๊าซแอมโมเนีย ยิ่งกว่านั้น เขายังทดลองให้เห็นว่า สารอินทรีย์ทุกชนิดเมื่อเผาไหม้แล้ว จะให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ทุกครั้ง เขาหาวิธีเผาสารต่างๆ แล้วคอยจับก๊าซเก็บไว้ได้หลายตัวอย่าง
โจเซฟ พริสต์เลย์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1804
โจเซฟ พริสต์เลย์
-------------------------------------------------------------------------
นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบก๊าซออกซิเจนเป็นคนแรก เป็นผู้ที่มีมันสมองพิเศษ เรียนรู้ได้เร็ว แต่ถูกชาวอังกฤษต่อต้าน เพราะเหตุที่เขานิยมการปฏิวัติในฝรั่งเศสและอเมริกา จนถูกขู่ทำร้ายร่างกายจนต้องอพยพไปจากอังกฤษไปอยู่อเมริกาตลอดชีวิต
โจเซฟ พริสต์เลย์ เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.1733 ที่ยอร์กเชียร์ ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวช่างทอผ้า เมื่อเป็นเด็กค่อนข้างบอบบางขี้โรค แต่สนใจในทางตำรับตำราและภาษาศาสตร์ทุกชนิด ภายหลังจบการศึกษาเขาได้ทำงานเป็นครูสอนทางด้านภาษาที่วอร์ชิงตัน
ในสถาบันแห่งนี้ โจเซฟ ได้เคยฟังการบรรยายเกี่ยวกับวิชาเคมีบ่อยๆ ประกอบกับได้เคยไปชมกิจการของโรงงานทำเบียร์แห่งหนึ่ง ได้เห็นการหมักและผลิตเบียร์ด้วยเชื้อ โดยมีก๊าซชนิดหนึ่งมีกลิ่นออกมาคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์นั่นเอง เมื่อเขาได้ทำการทดสอบคุณสมบัติของก๊าซนี้ดูก็พบว่าเป็นก๊าซไม่ติดไฟ เขาจึงคิดที่จะค้นหาก๊าซอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นเองจากการทดลอง
ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1774 เขาจึงค้นพบก๊าซออกซิเจน จากการเผาผงปรอททองแดงด้วยเลนส์รวมแสง อันมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว วิธีทำของเขาก็คือ ให้แสงอาทิตย์ส่องผ่านเลนส์ มารวมกันที่จุดๆหนึ่ง แล้วเอาผงปรอททองแดงมาวางไว้ที่จุดนี้ ผงปรอททองแดงถูกแผดเผาจากความร้อนของดวงอาทิตย์หนักเข้าไม่ช้าก็ละลายตัว ทำให้เกิดก๊าซชนิดหนึ่งระเหยออกมา ก๊าซชนิดนี้ไม่มีสี แต่มีคุณสมบัติช่วยให้ไฟติด มีแสงสว่างมากกว่าธรรมดา ทั้งยังช่วยให้สัตว์ดำรงชีวิตอยู่ได้นานกว่าอากาศธรรมดา เขาขนานนามก๊าซชนิดว่า “Dephlogisticated Air “ แต่ต่อมาภายหลัง ลาวัวซิเอร์ได้ขนานนามก๊าซนี้ใหม่ว่า “ออกซิเจน” (Oxygen)
นอกจากนั้น โจเซฟ พริสต์เลย์ ยังพบวิธีจับก๊าซโดยไล่ที่น้ำได้พบออกไซน์ของไนโตรเจน พบก๊าซของกรดเกลือ ก๊าซแอมโมเนีย ยิ่งกว่านั้น เขายังทดลองให้เห็นว่า สารอินทรีย์ทุกชนิดเมื่อเผาไหม้แล้ว จะให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ทุกครั้ง เขาหาวิธีเผาสารต่างๆ แล้วคอยจับก๊าซเก็บไว้ได้หลายตัวอย่าง
โจเซฟ พริสต์เลย์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1804
Julius Wagner-Jauregg:จูเลียส วากเนอร์-จอเร็กก์
Julius Wagner-Jauregg
จูเลียส วากเนอร์-จอเร็กก์
----------------------------------------------------------------------
จูเลียส วากเนอร์-จอเร็กก์ เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ปี ค.ศ. 1857 ที่เมืองเวลส์ ประเทศออสเตรีย ได้เข้ารับการศึกษาที่สถาบันพยาธิวิทยา จนได้รับปริญญาแพทยศาสตร์ในปี ค.ศ. 1880
งานชิ้นสำคัญที่จูเลียส วากเนอร์-จอเร็กก์ ศึกษาค้นคว้าอยู่ตลอดชีวิตก็คือการรักษาโรคจิต โดยการชักนำให้เกิดเป็นไข้ในปี ค.ศ. 1917 เขาลองเพาะเชื้อไข้มาลาเรีย และพิสูจน์ได้ว่าได้รับผลสำเร็จในการรักษาอาการอัมพาต ชนิดเดเมนเทียพาราไลติกา (dementia paralytica) โดยการเอาเลือดจากผู้ป่วยเป็นไข้มาลาเรียไปฉีดให้แก่ผู้ป่วยเป็นอัมพาตเก้าคน ทั้งเก้าคนเป็นไข้มาลาเรีย แต่อาการอัมพาตดีขึ้น อีกสามคนหายขาด การค้นพบนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลประจำปี ค.ศ. 1927
จูเลียส วากเนอร์-จอเร็กก์ ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 27 กันยายน ปี ค.ศ. 1930 รวมอายุได้ 73ปี
จูเลียส วากเนอร์-จอเร็กก์
----------------------------------------------------------------------
จูเลียส วากเนอร์-จอเร็กก์ เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ปี ค.ศ. 1857 ที่เมืองเวลส์ ประเทศออสเตรีย ได้เข้ารับการศึกษาที่สถาบันพยาธิวิทยา จนได้รับปริญญาแพทยศาสตร์ในปี ค.ศ. 1880
งานชิ้นสำคัญที่จูเลียส วากเนอร์-จอเร็กก์ ศึกษาค้นคว้าอยู่ตลอดชีวิตก็คือการรักษาโรคจิต โดยการชักนำให้เกิดเป็นไข้ในปี ค.ศ. 1917 เขาลองเพาะเชื้อไข้มาลาเรีย และพิสูจน์ได้ว่าได้รับผลสำเร็จในการรักษาอาการอัมพาต ชนิดเดเมนเทียพาราไลติกา (dementia paralytica) โดยการเอาเลือดจากผู้ป่วยเป็นไข้มาลาเรียไปฉีดให้แก่ผู้ป่วยเป็นอัมพาตเก้าคน ทั้งเก้าคนเป็นไข้มาลาเรีย แต่อาการอัมพาตดีขึ้น อีกสามคนหายขาด การค้นพบนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลประจำปี ค.ศ. 1927
จูเลียส วากเนอร์-จอเร็กก์ ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 27 กันยายน ปี ค.ศ. 1930 รวมอายุได้ 73ปี
Karl Landsteiner:คาร์ล แลนสไตเนอร์
Karl Landsteiner
คาร์ล แลนสไตเนอร์
-------------------------------------------------------------------------
คาร์ล แลนสไตเนอร์ เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1868 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในครอบครัวนักกฎหมาย และนักหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น พออายุได้ 6 ขวบบิดาก็เสียชีวิต
คาร์ลมีความสนใจในทางการแพทย์มาตั้งแต่ต้น เขาได้เข้าศึกษาวิชาแพทยศาสตร์จนสำเร็จเป็นนายแพทย์เมื่อ ปี ค.ศ. 1891 ต่อจากนั้นก็ทำงานทางด้านวิจัยและค้นคว้าทางการแพทย์เกี่ยวกับแบคทีเรียและพยาธิวิทยาในโรงพยาบาลที่กรุงเวียนนา และเริ่มสนใจเรื่องรากฐานของภูมิคุ้มกันและพยาธิวิทยา
ตลอดระยะเวลาร่วม 20 ปีที่เขาทำการค้นคว้าวิจัยนั้น เขาได้เขียนตำราและเอกสารทางการแพทย์ออกมามากมาย ซึ่งส่วนใหญ่มีประโยชน์และมีความสำคัญทางวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นอันมาก อาทิเช่น ลักษณะของเนื้อเยื่อที่เป็นโรค เรื่องภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย โรคเลือดในปัสสาวะ สาเหตุของโรคไขสันหลังอักเสบและภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อโรคนี้ และการค้นพบที่ทำให้เขาได้รับชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ การค้นพบชนิดของหมู่เลือดในคน
ในสมัยนั้นการให้เลือดแก่ผู้ป่วยยังไม่ค่อยได้รับผลสำเร็จนัก เพราะเลือดที่ให้มักตกตะกอนในสายเลือดของผู้ป่วย และเม็ดเลือดมักจะแตก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการช็อค เป็นดีซ่าน คาร์ลให้ข้ออธิบายว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะเม็ดเลือดในคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน เป็นสาเหตุให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างเม็ดเลือดที่ต่างชนิดกันและเกิดการตกตะกอนขึ้น
ในปี ค.ศ. 1909 เขาได้ตีพิมพ์เอกสารแสดงให้เห็นว่าเลือดของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดคือ เอ บี เอบี และโอ และได้ชี้แจงว่าการถ่ายเลือดจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งที่มีกลุ่มเลือดเดียวกัน เลือดจะไม่เกิดปฏิกิริยาตกตะกอน นอกจากว่าบุคคลทั้งสองจะมีเลือดคนละกลุ่ม ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์อย่างมหาศาล
คาร์ล แลนสไตเนอร์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1943 ด้วยโรคหัวใจ รวมอายุได้ 75 ปี
คาร์ล แลนสไตเนอร์
-------------------------------------------------------------------------
คาร์ล แลนสไตเนอร์ เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1868 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในครอบครัวนักกฎหมาย และนักหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น พออายุได้ 6 ขวบบิดาก็เสียชีวิต
คาร์ลมีความสนใจในทางการแพทย์มาตั้งแต่ต้น เขาได้เข้าศึกษาวิชาแพทยศาสตร์จนสำเร็จเป็นนายแพทย์เมื่อ ปี ค.ศ. 1891 ต่อจากนั้นก็ทำงานทางด้านวิจัยและค้นคว้าทางการแพทย์เกี่ยวกับแบคทีเรียและพยาธิวิทยาในโรงพยาบาลที่กรุงเวียนนา และเริ่มสนใจเรื่องรากฐานของภูมิคุ้มกันและพยาธิวิทยา
ตลอดระยะเวลาร่วม 20 ปีที่เขาทำการค้นคว้าวิจัยนั้น เขาได้เขียนตำราและเอกสารทางการแพทย์ออกมามากมาย ซึ่งส่วนใหญ่มีประโยชน์และมีความสำคัญทางวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นอันมาก อาทิเช่น ลักษณะของเนื้อเยื่อที่เป็นโรค เรื่องภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย โรคเลือดในปัสสาวะ สาเหตุของโรคไขสันหลังอักเสบและภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อโรคนี้ และการค้นพบที่ทำให้เขาได้รับชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ การค้นพบชนิดของหมู่เลือดในคน
ในสมัยนั้นการให้เลือดแก่ผู้ป่วยยังไม่ค่อยได้รับผลสำเร็จนัก เพราะเลือดที่ให้มักตกตะกอนในสายเลือดของผู้ป่วย และเม็ดเลือดมักจะแตก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการช็อค เป็นดีซ่าน คาร์ลให้ข้ออธิบายว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะเม็ดเลือดในคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน เป็นสาเหตุให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างเม็ดเลือดที่ต่างชนิดกันและเกิดการตกตะกอนขึ้น
ในปี ค.ศ. 1909 เขาได้ตีพิมพ์เอกสารแสดงให้เห็นว่าเลือดของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดคือ เอ บี เอบี และโอ และได้ชี้แจงว่าการถ่ายเลือดจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งที่มีกลุ่มเลือดเดียวกัน เลือดจะไม่เกิดปฏิกิริยาตกตะกอน นอกจากว่าบุคคลทั้งสองจะมีเลือดคนละกลุ่ม ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์อย่างมหาศาล
คาร์ล แลนสไตเนอร์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1943 ด้วยโรคหัวใจ รวมอายุได้ 75 ปี
Lavoiser:ลาวัวซิเอร์
Lavoiser
ลาวัวซิเอร์
-------------------------------------------------------------------------
ลาวัวซิเอร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักการเมืองผู้อธิบายถึงทฤษฎีการเผาไหม้เป็นคนแรก และเป็นนักวิทยาศาสตร์คนเดียวที่ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน เมื่ออายุเพียง 51 ปี ถ้าเขามีอายุยาวนานกว่านี้ โลกเราอาจมีสิ่งแปลกๆใหม่ๆ เกิดขึ้นมากกว่านี้ก็ได้ ชีวิตของเขาจึงเป็นบทเรียนให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังได้คิดว่า บางครั้งตำแหน่งทางการเมืองก็ไม่เหมาะสำหรับนักวิทยาศาสตร์เลย
อังตวน ลาวัวซิเอร์ เกิดในปารีสเมื่อ ค.ศ. 1743 เป็นบุตรของพ่อค้าผู้มั่งคั่ง เมื่ออายุ 13 ปีเขาเคยตั่งใจที่จะเป็นนักเขียนแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงหันกลับมาเริ่มสนใจวิชากฎหมาย ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และธรณีวิทยาแทน
ลาวัวซิเอร์ได้รับการศึกษาอย่างดี บิดาได้ส่งให้เขาไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยมาซาแรง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในปารีสสมัยนั้น วิชาที่เขาสนใจที่สุดคือ วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเคมี พอจบการศึกษาเขาได้เข้ารับราชการในแผนกจับเก็บภาษีของรัฐบาลฝรั่งเศส และได้รับรางวัลจากราชบัณฑิตยสมาคมวิทยาศาสตร์ ในฐานะผู้ค้นหาวิธีจุดตะเกียงตามถนนในปารีสได้สำเร็จ
ปี ค.ศ. 1768 เขาได้รับการเลือกเป็นสมาชิกของราชบัณฑิตยสมาคมวิทยาศาสตร์ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งตามกฎมีว่าผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกได้จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 50 ปี แต่ลาวัวซิเอร์ในขณะนั้นมีอายุเพียง 25 ปี ทั้งนี้เพราะผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่เขาได้ทำไว้นั้นเอง
ผลงานที่ลาวัวซิเอร์ได้รับเกียรติยศและชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ “ทฤษฎีแห่งการเผาไหม้”หรือ “สันดาปทฤษฎี “ เขาเป็นผู้อธิบายปรากฎการการเผาไหม้ของวัตถุต่างๆ ได้ละเอียดชัดเจน เขาอธิบายว่า “การลุกไหม้คือการรวมตัวของสารกับออกซิเจนในอากาศ และถ้าไม้มีออกซิเจนการลุกไหม้จะไม่เกิดขึ้น ในขณะที่ทำการทดลองเกี่ยวกับการเผาไหม้เขาได้ทดลองเกี่ยวกับส่วนประกอบของน้ำด้วย และได้ทำตามความคิดของ โรเบิร์ต บอย์ด ในการที่จะหาว่าสารนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และอะไรคือความแตกต่างระหว่างสารผสมและสารประกอบ ทุกสิ่งที่เขาทำจะละเอียดถี่ถ้วนและเป็นระบบ
ลาวัวซิเอร์ ถูกประหารชีวิต ที่กลางเมืองปารีสด้วย กิโยติน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1794 ขณะอายุได้ 51 ปี ในข้อหาว่ากดขี่ข่มเหงด้วยการขูดรีดภาษี
ลาวัวซิเอร์
-------------------------------------------------------------------------
ลาวัวซิเอร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักการเมืองผู้อธิบายถึงทฤษฎีการเผาไหม้เป็นคนแรก และเป็นนักวิทยาศาสตร์คนเดียวที่ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน เมื่ออายุเพียง 51 ปี ถ้าเขามีอายุยาวนานกว่านี้ โลกเราอาจมีสิ่งแปลกๆใหม่ๆ เกิดขึ้นมากกว่านี้ก็ได้ ชีวิตของเขาจึงเป็นบทเรียนให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังได้คิดว่า บางครั้งตำแหน่งทางการเมืองก็ไม่เหมาะสำหรับนักวิทยาศาสตร์เลย
อังตวน ลาวัวซิเอร์ เกิดในปารีสเมื่อ ค.ศ. 1743 เป็นบุตรของพ่อค้าผู้มั่งคั่ง เมื่ออายุ 13 ปีเขาเคยตั่งใจที่จะเป็นนักเขียนแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงหันกลับมาเริ่มสนใจวิชากฎหมาย ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และธรณีวิทยาแทน
ลาวัวซิเอร์ได้รับการศึกษาอย่างดี บิดาได้ส่งให้เขาไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยมาซาแรง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในปารีสสมัยนั้น วิชาที่เขาสนใจที่สุดคือ วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเคมี พอจบการศึกษาเขาได้เข้ารับราชการในแผนกจับเก็บภาษีของรัฐบาลฝรั่งเศส และได้รับรางวัลจากราชบัณฑิตยสมาคมวิทยาศาสตร์ ในฐานะผู้ค้นหาวิธีจุดตะเกียงตามถนนในปารีสได้สำเร็จ
ปี ค.ศ. 1768 เขาได้รับการเลือกเป็นสมาชิกของราชบัณฑิตยสมาคมวิทยาศาสตร์ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งตามกฎมีว่าผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกได้จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 50 ปี แต่ลาวัวซิเอร์ในขณะนั้นมีอายุเพียง 25 ปี ทั้งนี้เพราะผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่เขาได้ทำไว้นั้นเอง
ผลงานที่ลาวัวซิเอร์ได้รับเกียรติยศและชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ “ทฤษฎีแห่งการเผาไหม้”หรือ “สันดาปทฤษฎี “ เขาเป็นผู้อธิบายปรากฎการการเผาไหม้ของวัตถุต่างๆ ได้ละเอียดชัดเจน เขาอธิบายว่า “การลุกไหม้คือการรวมตัวของสารกับออกซิเจนในอากาศ และถ้าไม้มีออกซิเจนการลุกไหม้จะไม่เกิดขึ้น ในขณะที่ทำการทดลองเกี่ยวกับการเผาไหม้เขาได้ทดลองเกี่ยวกับส่วนประกอบของน้ำด้วย และได้ทำตามความคิดของ โรเบิร์ต บอย์ด ในการที่จะหาว่าสารนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และอะไรคือความแตกต่างระหว่างสารผสมและสารประกอบ ทุกสิ่งที่เขาทำจะละเอียดถี่ถ้วนและเป็นระบบ
ลาวัวซิเอร์ ถูกประหารชีวิต ที่กลางเมืองปารีสด้วย กิโยติน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1794 ขณะอายุได้ 51 ปี ในข้อหาว่ากดขี่ข่มเหงด้วยการขูดรีดภาษี
Leonardo da Vinci:ลีโอนาร์โด ดาร์ วินชี
Leonardo da Vinci
ลีโอนาร์โด ดาร์ วินชี
--------------------------------------------------------------------------------
ลีโอนาร์โด ดาร์ วินชี เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีพรสวรรค์หลายด้าน เขาเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักสังเกต นักทดลอง นักประดิษฐ์ นักดาราศาสตร์ นักสถาปัตยกรรม เป็นคนแรกที่คิดถึง ความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะทำการบินได้เหมือนนก และเป็นคนวาดภาพโมนาลิซ่าที่มีชื่อเสียง เลโอนาร์โด ดา วินซี เกิดเมื่อปี ค.ศ.1452 ในประเทศอิตาลี เมื่อวัยเยาว์เขาเป็นเด็กที่ชอบสะสมแมลง และใช้เวลาว่างวาดรูป สัตว์เหล่านั้นได้เหมือนจริง อันเป็นรากฐานที่ทำให้เขาสร้างผลงานอันลือลั่นคือ ภาพโมนาลิซ่า ที่กล่าวกันว่ามีลักษณะการยิ้มที่เป็นปริศนาบางคน กล่าวว่าเขาจำลองแบบการยิ้มมาจากยิ้มของมารดา นอกจากงานวาดแล้วเขายังสังเกตการบินของนกและบันทึกไว้ว่า “การเคลื่อนปีกของนกมีความสมดุลของมันเอง ซึ่งมนุษย์ก็อาจหาดุลนั้นได้” จากสมมติฐานอันนี้เองที่เขาได้ร่างโครงแบบของเครื่องร่อนขึ้น ซึ่งมันก็เป็นแนวทางให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมาได้ศึกษาจนสร้าง เครื่องบินได้ในที่สุดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเขาก้าวหน้าไปไกลมาก เขาได้ร่างโครงสร้างของเฮลิคอปเตอร์ เครื่องร่อน เรือดำน้ำ ลูก ระเบิดไฟ เครื่องรีดเหล็ก ออกแบบสะพาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้เกิดขึ้นมาจริงใน300-400 ปีต่อมา ดาวินซีถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ.1519 ที่ฝรั่งเศส ก่อนตายเขาปรับทุกข์กับเพื่อนคนหนึ่งว่า เขายังทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่างเลย
ลีโอนาร์โด ดาร์ วินชี
--------------------------------------------------------------------------------
ลีโอนาร์โด ดาร์ วินชี เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีพรสวรรค์หลายด้าน เขาเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักสังเกต นักทดลอง นักประดิษฐ์ นักดาราศาสตร์ นักสถาปัตยกรรม เป็นคนแรกที่คิดถึง ความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะทำการบินได้เหมือนนก และเป็นคนวาดภาพโมนาลิซ่าที่มีชื่อเสียง เลโอนาร์โด ดา วินซี เกิดเมื่อปี ค.ศ.1452 ในประเทศอิตาลี เมื่อวัยเยาว์เขาเป็นเด็กที่ชอบสะสมแมลง และใช้เวลาว่างวาดรูป สัตว์เหล่านั้นได้เหมือนจริง อันเป็นรากฐานที่ทำให้เขาสร้างผลงานอันลือลั่นคือ ภาพโมนาลิซ่า ที่กล่าวกันว่ามีลักษณะการยิ้มที่เป็นปริศนาบางคน กล่าวว่าเขาจำลองแบบการยิ้มมาจากยิ้มของมารดา นอกจากงานวาดแล้วเขายังสังเกตการบินของนกและบันทึกไว้ว่า “การเคลื่อนปีกของนกมีความสมดุลของมันเอง ซึ่งมนุษย์ก็อาจหาดุลนั้นได้” จากสมมติฐานอันนี้เองที่เขาได้ร่างโครงแบบของเครื่องร่อนขึ้น ซึ่งมันก็เป็นแนวทางให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมาได้ศึกษาจนสร้าง เครื่องบินได้ในที่สุดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเขาก้าวหน้าไปไกลมาก เขาได้ร่างโครงสร้างของเฮลิคอปเตอร์ เครื่องร่อน เรือดำน้ำ ลูก ระเบิดไฟ เครื่องรีดเหล็ก ออกแบบสะพาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้เกิดขึ้นมาจริงใน300-400 ปีต่อมา ดาวินซีถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ.1519 ที่ฝรั่งเศส ก่อนตายเขาปรับทุกข์กับเพื่อนคนหนึ่งว่า เขายังทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่างเลย
Lord Ernest Rutherford:ลอร์ดเออร์เนสท์ รัทธอร์ฟอร์ด
Lord Ernest Rutherford
ลอร์ดเออร์เนสท์ รัทธอร์ฟอร์ด
---------------------------------------------------------------------
ลอร์ดเออร์เนสท์ รัทธอร์ฟอร์ด เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านการทดลองชาวนิวซีแลนด์ เกิดในปี ค.ศ. 1871 และถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1939 งานชิ้นสำคัญของเขาคืองานเกี่ยวกับสสารกัมมันตรังสีและโครงสร้างของอะตอม
ลอร์ดเออร์เนสท์ รัทธอร์ฟอร์ด
---------------------------------------------------------------------
ลอร์ดเออร์เนสท์ รัทธอร์ฟอร์ด เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านการทดลองชาวนิวซีแลนด์ เกิดในปี ค.ศ. 1871 และถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1939 งานชิ้นสำคัญของเขาคืองานเกี่ยวกับสสารกัมมันตรังสีและโครงสร้างของอะตอม
Louis-Jacques-Mandé Daguerre:หลุยส์ ยี. แอม. ดาแกร์
Louis-Jacques-Mandé Daguerre
หลุยส์ ยี. แอม. ดาแกร์
--------------------------------------------------------------------------------
หลุยส์ ยี. แอม. ดาแกร์ เป็นเพื่อนร่วมงานของยี. แอม. นีฟ ที่สานต่องานของนีฟจนประสบผลสำเร็จ ในการถ่ายภาพที่ได้ภาพคมชัดกว่า และใช้เวลาในการถ่ายน้อยกว่านีฟ
หลุยส์ ดาแกร์ เกิดในปี 1787 ที่ฝรั่งเศส เขาเริ่มอาชีพของเขาโดยเป็นคนเก็บภาษี และเป็นคนวาดภาพ เขาสนใจในการถ่ายภาพมาก จึงมาร่วมงานกับนีฟ หลังจากนีฟถึงแก่กรรมได้ 4 ปี ดาแกร์ก็ทำต่อ เขาพบว่า ถ้าใช้แผ่นเคลือบด้วยเงินและสารไอโอดีน จะได้ภาพที่ชัดเจนกว่าเดิม และใช้เวลาถ่ายน้อยกว่าคือ 20 นาที ในปี ค.ศ. 1839 เขาก็ได้แสดงวิธีการนี้ต่อผู้นำวิทยาศาสตร์ในฝรั่งเศส จนได้รับรางวัลถึง 6,000 ฟรังซ์
ดาแกร์ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1851
หลุยส์ ยี. แอม. ดาแกร์
--------------------------------------------------------------------------------
หลุยส์ ยี. แอม. ดาแกร์ เป็นเพื่อนร่วมงานของยี. แอม. นีฟ ที่สานต่องานของนีฟจนประสบผลสำเร็จ ในการถ่ายภาพที่ได้ภาพคมชัดกว่า และใช้เวลาในการถ่ายน้อยกว่านีฟ
หลุยส์ ดาแกร์ เกิดในปี 1787 ที่ฝรั่งเศส เขาเริ่มอาชีพของเขาโดยเป็นคนเก็บภาษี และเป็นคนวาดภาพ เขาสนใจในการถ่ายภาพมาก จึงมาร่วมงานกับนีฟ หลังจากนีฟถึงแก่กรรมได้ 4 ปี ดาแกร์ก็ทำต่อ เขาพบว่า ถ้าใช้แผ่นเคลือบด้วยเงินและสารไอโอดีน จะได้ภาพที่ชัดเจนกว่าเดิม และใช้เวลาถ่ายน้อยกว่าคือ 20 นาที ในปี ค.ศ. 1839 เขาก็ได้แสดงวิธีการนี้ต่อผู้นำวิทยาศาสตร์ในฝรั่งเศส จนได้รับรางวัลถึง 6,000 ฟรังซ์
ดาแกร์ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1851
Louis Pasteur: หลุยส์ ปาสเตอร์
Louis Pasteur
หลุยส์ ปาสเตอร์
--------------------------------------------------------------------------------
ศาสตราจารย์หลุยส์ ปาสเตอร์ ผู้ค้นพบวัคซีนในการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า และวิธีรักษาสิ่งของมิให้เน่าเสียโดยวิธีพาสเจอร์ไรซ์ หลุยส์ ปาสเตอร์ เมื่อตอนอายุ 9 ขวบ เขารีบรุดเข้าไปที่บ้านหลังเล็ก ๆ ในเมืองอะบออิส ใบหน้าของเขาซีดเผือด “แม่ครับ หมาบ้ากัดเฮนรี่เพื่อนของผม และตอนนี้พวกเขากกลังเอาเล็กเผาไฟนาบแผลของเขา มันน่ากลัวมาก ทำไมเขาต้องทำให้เฮนรี่เจ็บปวดอย่างนั้น” แม่เขาบอกกับเขา ว่า “โรคกลัวน้ำจ๊ะ การเอาเหล็กเผาไฟนาบลงบนแผลเป็นความหวังเดียวที่จะทำให้เฮนรี่รอดผลจากการติดเชื้อโรคนั้นได้ ถ้าหากเขาติดเชื้อก็จะไม่มีใครรักษาเขาได้อีก” เฮนรี่ได้รับเชื้อโรคกลัวน้ำ และเสียชีวิตลงอย่างเจ็บปวดทรมานในอีกหลายวันต่อมา หลุยส์ ปาสเตอร์ไม่เคยลืมเหตุการณ์นั้นเลย “สักวันหนึ่ง” เขาคิด “ฉันจะต้องทำอะไรบ้างอย่างเพื่อช่วยผู้คนเช่นเฮนรี่” และสิ่งนี้คือแรงบันดาลใจให้เขาคิดค้นหาวิธีรักษาโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งหลุยส์ ปาสเตอร์ก็ทำสำเร็จในปี ค.ศ. 1885 ทั้งยังค้นพบวิธีรักษาสิ่งของไม่เน่าเสียโดยวิธพาสเจอร์ไรส์อีกด้วย
หลุยส์ ปาสเตอร์ เกิดในปี ค.ศ. 1822 ที่เมืองเล็กๆ ในประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาซึ่งเป็นคนฟอกหนังต้องการให้หลุยส์เป็นครู จึงส่งเขาไปเรียนที่กรุงปารีสจนสำเร็จการศึกษา และไดเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย เมื่ออายุได้ 32 ปี เขาได้แต่งงานกับลูกสาวของคณบดีของมหาวิทยาลัยสตราสเบิร์ก
จุลชีพเป็นสิ่งที่หลุยส์สนใจมาก ทุกคนรู้ว่าเนื้อจะเน่าเปื่อยถ้าเก็บไว้ในกลางแจ้ง และทุกคนสามารถมองเห็นตัวจุลชีพในเนื้อได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากๆ แต่ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าจุลชีพมาจากที่ใด นักวิทยาศาสตร์หัวโบราณคิดว่าเนื้อเน่าทำให้เกิดพวกมัน ความคิดเห็นอย่างอื่นเป็นสิ่งเหลวไหล แต่หลุยส์ไม่ค่อยแน่ใจนัก “จุลชีพแพร่พันธุ์ใช่ไหม ใช่ แต่พวกมันไปอยูในเนื้อได้อย่างไรล่ะ” เขาตั้งข้อสงสัย จากนั้นเขากลับไปยังมหาวิทยาลัยในกรุงปารีส ซึ่งเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการทางวิชาวิทยาศาสตร์ ในที่สุดเขาก็สามารถใช้เวลาทั้งหมดของเขาทำการค้นคว้าเรื่องจุลชีพ พ่อครัวของหลุยส์ต้องยุ่งอยู่กับการต้มซุปเนื้อ มิใช่สำหรับอาหารค่ำแต่ใช้สำหรับการทดลองของหลุยส์ เขาค้นพบว่า จุลชีพนั้นเกิดจากฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศมิใช่มาจากอาหารที่บูดเน่า เขาพิสูจน์โดยการนำเอาขวดซุปเนื้อขึ้นไปบนภูเขาแอลป์ ซึ่งมีอากาศบริสุทธิ์และไม่มีฝุ่นละออง เขาเปิดขวดเหล่านั้นและปล่อยทิ้งไว้ เขาพูดถูกไม่มีฝุ่นละออง และน้ำซุปไม่เสีย บนหิ้งต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ปาสเตอร์ในกรุงปารีสมีขวดปิดไว้ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยเขา น้ำซุปเนื้อในนั้นยังคงไม่บูดเน่า หลังจากที่มันมีอายุนานกว่า 100 ปี การค้นคว้านี้ทำให้เกิดอาหารกระป๋อง และบรรจุขวดที่เรารู้จักกันมาจนทุกวันนี้ อาหารถูกปิดไว้ในกระป๋องหรือขวดด้วยความร้อนสูง ทำให้จุลชีพไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในนั้นได้
ในขณะนั้นหลุยส์ยังคงไม่สามารถรักษาโรคชนิดหนึ่งได้ นั่นคือ โรคกลัวน้ำ เขาไม่เคยลืมเฮนรี่เพื่อนของเขาเลย และเขาตัดสินใจที่จะค้นหาสาเหตุของโรค ซึ่งเป็นฆาตกรที่ร้ายกาจ เพื่อประโยชน์แก่เด็กอื่นๆ ที่ประสบโรคนั้น ตอนแรกเขาไม่สามารถค้นพบเชื้อจุลลินทรีย์ใดๆ เลย แม้ด้วยกล้องจุลทรรสน์ที่มีกำลังขยายมาก เขาเชื่อว่าบางสิ่งบางอย่างต้องอยู่ที่นั่น บางสิ่งบางอย่างที่เล็กมากจนไม่ปรากฏให้เห็นแม้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากที่สุด ซึ่งเขาเรียกมันว่าไวรัส หลังจากการทดลองที่เสี่ยงอันตรายหลายครั้ง เขาพบเชื้อไวรัสสมบูรณ์ที่สุดในบริเวณไขสันหลังของสัตว์ที่เป็นโรค เขาสามารถเพาะเชื้อไวรัสได้ และฉีดมันเข้าไปในสัตว์ตัวอื่นๆ ให้มันรับเชื้อโรคกลัวน้ำด้วย หลุยส์ทดลองฉีดไวรัสโรคกลัวน้ำแก่สุนัขทั้งสิบตัว วันต่อมาเขาเริ่มฉีดเชื้อไวรัสที่ทำให้อ่อนแอลงแล้วของเขาให้สุนัขทุกตัว การรักษาประสบความสำเร็จอีกเช่นกัน ไม่มีสุนัขตัวใดติดโรคกลัวน้ำเลย การค้นพบวิธีรักษาโรคกลัวน้ำ ให้ความหวังใหม่แก่ผู้คนในหลายประเทศ การฉีดวัคซีนให้ผลสำเร็จในประเทศต่างๆ มากมาย ผู้คนที่มีความกตัญญูได้รับการรักษาจนหาย ส่งเงินมาช่วยเหลือเพื่อสร้างตึก ปาสเตอร์ อินสติทิวส์ ในกรุงปารีส ปัจจุบันนี้ ปาสเตอร์ อินสติทิวส์ ได้มีขึ้นในหลายภูมิภาคของโลก เมื่อหลุย ปาสเตอร์ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1895 ผู้คนหลายล้านคนโศกเศร้าเสียดาย เขาไม่เพียงแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญเท่านั้น แต่เป็นบุคคลสำคัญอีกด้วย เขาเป็นคนอ่อนน้อม และสนใจกับเรื่องอนามัยของคนอื่นอยู่เสมอ
หลุยส์ ปาสเตอร์
--------------------------------------------------------------------------------
ศาสตราจารย์หลุยส์ ปาสเตอร์ ผู้ค้นพบวัคซีนในการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า และวิธีรักษาสิ่งของมิให้เน่าเสียโดยวิธีพาสเจอร์ไรซ์ หลุยส์ ปาสเตอร์ เมื่อตอนอายุ 9 ขวบ เขารีบรุดเข้าไปที่บ้านหลังเล็ก ๆ ในเมืองอะบออิส ใบหน้าของเขาซีดเผือด “แม่ครับ หมาบ้ากัดเฮนรี่เพื่อนของผม และตอนนี้พวกเขากกลังเอาเล็กเผาไฟนาบแผลของเขา มันน่ากลัวมาก ทำไมเขาต้องทำให้เฮนรี่เจ็บปวดอย่างนั้น” แม่เขาบอกกับเขา ว่า “โรคกลัวน้ำจ๊ะ การเอาเหล็กเผาไฟนาบลงบนแผลเป็นความหวังเดียวที่จะทำให้เฮนรี่รอดผลจากการติดเชื้อโรคนั้นได้ ถ้าหากเขาติดเชื้อก็จะไม่มีใครรักษาเขาได้อีก” เฮนรี่ได้รับเชื้อโรคกลัวน้ำ และเสียชีวิตลงอย่างเจ็บปวดทรมานในอีกหลายวันต่อมา หลุยส์ ปาสเตอร์ไม่เคยลืมเหตุการณ์นั้นเลย “สักวันหนึ่ง” เขาคิด “ฉันจะต้องทำอะไรบ้างอย่างเพื่อช่วยผู้คนเช่นเฮนรี่” และสิ่งนี้คือแรงบันดาลใจให้เขาคิดค้นหาวิธีรักษาโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งหลุยส์ ปาสเตอร์ก็ทำสำเร็จในปี ค.ศ. 1885 ทั้งยังค้นพบวิธีรักษาสิ่งของไม่เน่าเสียโดยวิธพาสเจอร์ไรส์อีกด้วย
หลุยส์ ปาสเตอร์ เกิดในปี ค.ศ. 1822 ที่เมืองเล็กๆ ในประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาซึ่งเป็นคนฟอกหนังต้องการให้หลุยส์เป็นครู จึงส่งเขาไปเรียนที่กรุงปารีสจนสำเร็จการศึกษา และไดเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย เมื่ออายุได้ 32 ปี เขาได้แต่งงานกับลูกสาวของคณบดีของมหาวิทยาลัยสตราสเบิร์ก
จุลชีพเป็นสิ่งที่หลุยส์สนใจมาก ทุกคนรู้ว่าเนื้อจะเน่าเปื่อยถ้าเก็บไว้ในกลางแจ้ง และทุกคนสามารถมองเห็นตัวจุลชีพในเนื้อได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากๆ แต่ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าจุลชีพมาจากที่ใด นักวิทยาศาสตร์หัวโบราณคิดว่าเนื้อเน่าทำให้เกิดพวกมัน ความคิดเห็นอย่างอื่นเป็นสิ่งเหลวไหล แต่หลุยส์ไม่ค่อยแน่ใจนัก “จุลชีพแพร่พันธุ์ใช่ไหม ใช่ แต่พวกมันไปอยูในเนื้อได้อย่างไรล่ะ” เขาตั้งข้อสงสัย จากนั้นเขากลับไปยังมหาวิทยาลัยในกรุงปารีส ซึ่งเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการทางวิชาวิทยาศาสตร์ ในที่สุดเขาก็สามารถใช้เวลาทั้งหมดของเขาทำการค้นคว้าเรื่องจุลชีพ พ่อครัวของหลุยส์ต้องยุ่งอยู่กับการต้มซุปเนื้อ มิใช่สำหรับอาหารค่ำแต่ใช้สำหรับการทดลองของหลุยส์ เขาค้นพบว่า จุลชีพนั้นเกิดจากฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศมิใช่มาจากอาหารที่บูดเน่า เขาพิสูจน์โดยการนำเอาขวดซุปเนื้อขึ้นไปบนภูเขาแอลป์ ซึ่งมีอากาศบริสุทธิ์และไม่มีฝุ่นละออง เขาเปิดขวดเหล่านั้นและปล่อยทิ้งไว้ เขาพูดถูกไม่มีฝุ่นละออง และน้ำซุปไม่เสีย บนหิ้งต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ปาสเตอร์ในกรุงปารีสมีขวดปิดไว้ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยเขา น้ำซุปเนื้อในนั้นยังคงไม่บูดเน่า หลังจากที่มันมีอายุนานกว่า 100 ปี การค้นคว้านี้ทำให้เกิดอาหารกระป๋อง และบรรจุขวดที่เรารู้จักกันมาจนทุกวันนี้ อาหารถูกปิดไว้ในกระป๋องหรือขวดด้วยความร้อนสูง ทำให้จุลชีพไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในนั้นได้
ในขณะนั้นหลุยส์ยังคงไม่สามารถรักษาโรคชนิดหนึ่งได้ นั่นคือ โรคกลัวน้ำ เขาไม่เคยลืมเฮนรี่เพื่อนของเขาเลย และเขาตัดสินใจที่จะค้นหาสาเหตุของโรค ซึ่งเป็นฆาตกรที่ร้ายกาจ เพื่อประโยชน์แก่เด็กอื่นๆ ที่ประสบโรคนั้น ตอนแรกเขาไม่สามารถค้นพบเชื้อจุลลินทรีย์ใดๆ เลย แม้ด้วยกล้องจุลทรรสน์ที่มีกำลังขยายมาก เขาเชื่อว่าบางสิ่งบางอย่างต้องอยู่ที่นั่น บางสิ่งบางอย่างที่เล็กมากจนไม่ปรากฏให้เห็นแม้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากที่สุด ซึ่งเขาเรียกมันว่าไวรัส หลังจากการทดลองที่เสี่ยงอันตรายหลายครั้ง เขาพบเชื้อไวรัสสมบูรณ์ที่สุดในบริเวณไขสันหลังของสัตว์ที่เป็นโรค เขาสามารถเพาะเชื้อไวรัสได้ และฉีดมันเข้าไปในสัตว์ตัวอื่นๆ ให้มันรับเชื้อโรคกลัวน้ำด้วย หลุยส์ทดลองฉีดไวรัสโรคกลัวน้ำแก่สุนัขทั้งสิบตัว วันต่อมาเขาเริ่มฉีดเชื้อไวรัสที่ทำให้อ่อนแอลงแล้วของเขาให้สุนัขทุกตัว การรักษาประสบความสำเร็จอีกเช่นกัน ไม่มีสุนัขตัวใดติดโรคกลัวน้ำเลย การค้นพบวิธีรักษาโรคกลัวน้ำ ให้ความหวังใหม่แก่ผู้คนในหลายประเทศ การฉีดวัคซีนให้ผลสำเร็จในประเทศต่างๆ มากมาย ผู้คนที่มีความกตัญญูได้รับการรักษาจนหาย ส่งเงินมาช่วยเหลือเพื่อสร้างตึก ปาสเตอร์ อินสติทิวส์ ในกรุงปารีส ปัจจุบันนี้ ปาสเตอร์ อินสติทิวส์ ได้มีขึ้นในหลายภูมิภาคของโลก เมื่อหลุย ปาสเตอร์ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1895 ผู้คนหลายล้านคนโศกเศร้าเสียดาย เขาไม่เพียงแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญเท่านั้น แต่เป็นบุคคลสำคัญอีกด้วย เขาเป็นคนอ่อนน้อม และสนใจกับเรื่องอนามัยของคนอื่นอยู่เสมอ
Marie Curie:มารี คูรี
Marie Curie
มารี คูรี
--------------------------------------------------------------------------------
มารี คูรี่ “ผู้ค้นพบแร่เรเดียม” นักวิทยาศาสตร์ที่รักการค้นคว้ายิ่งกว่าชีวิตของตัวเอง และเสียชีวิตลงด้วยรังสีของแร่เรเดียม ซึ่งเธอได้คลุกคลีกับมาเป็นเวลานาน แร่เรเดียมที่นับได้ว่าช่วยเหลือคนรอดชีวิตมาเป็นจำนวนมาก กลับทำลายชีวิตของเธอเองอย่างน่าเสียดาย
เธอเกิดในประเทศโปแลนด์ เมื่อปี ค.ศ. 1867 เป็นบุตรีของศาสตราจารย์วลาดิสลาฟ สโคลโดว์สกา ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิทยาศาสตร์และคำนวณ ซึ่งเธอได้รับการถ่ายทอดวิชาวิทยาศาสตร์จากบิดามาตั้งแต่เด็ก มารีสนใจในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพมาก จึงได้เดินทางไปศึกษายังมหาวิทยาลัยซอร์บอน ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
เมื่ออายุได้ 27 ปี เธอได้รู้จักกับปีแอร์ คูรี่ นักฟิสิกส์และเคมีชาวฝรั่งเศส และได้แต่งงานกันเมื่อปี 1895 ซึ่งปีแอร์มีส่วนช่วยในการค้นพบครั้งสำคัญนี้เป็นอย่างมาก มารีและสามี ได้ทำการทดลองค้นคว้าอย่างไม่หยุดยั้ง เธอแยกธาตุออกจากแร่พิทช์แเบลนด์ได้เป็นส่วนย่อย จนกระทั่งพบธาตุใหม่อีกธาตุหนึ่ง ในขั้นแรกเธอให้ชื่อว่า โปโลเนียม(Polonium) ซึ่งมีคุณสมบัติทางกัมมันตภาพรังสีอยู่มาก จนต่อมาเธอตัดสินใจเรียกธาตุใหม่นี้ว่า เรเดียม(Radium) ซึ่งมีคุณสมบัติสูงกว่ายูเรเนียมถึง 2 ล้าน 5 แสนเท่า เรเดียมสามารถแยกก๊าซหรืออากาศได้ และทำให้เกิดแสงเรือง มีพลังความร้อน ซ้ำยังเป็นโลหะที่มีอานุภาพทำลายชีวิตมนุษย์ได้อีกด้วย
ปิแอร์และมารี คูรี่ ได้รับการยกย่องในผลสำเร็จครั้งนี้อย่างมาก แม้แต่ในต่างประเทศ เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ของอังกฤษ ได้มอบเหรียญเดวี่ให้เป็นเกียรติแก่บุคคลทั้งคู่ มารี คูรี่ ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ในปี 1911
ในขณะที่บุคคลทั้งสองกำลังรุ่งโรจน์อยู่นั้น เหตุร้ายก็เกิดขึ้นในตอนเช้าของวันที่ 19 เมษายน 1906 ปีแอร์ คูรี่ สามีของเธอก็ประสบอุปัทวเหตุ และถึงแก่กรรมตายทันที ยังความเศร้าสลดใจมาให้แก่มารี คูรี่ อย่างสุดซึ้ง และเกือบจะทำให้เธอยอมทอดทิ้งผลงานต่างๆ ที่ทำค้างไว้ทั้งสิ้น แต่ในไม่ช้าเธอก็หวนกลับมาสู้การค้นคว้าผลงานของเธอต่อไป
ในปี ค.ศ.1934 มารี คูรี่ ก็ล้มเจ็บลง ด้วยลักษณะอาการของคนที่อ่อนเพลีย หมดแรงลงอย่างรวดเร็ว และถึงแก่กรรมในเช้าวันที่ 4 กรกฎาคม 1934 แพทย์ตรวจพบภายหลังว่า กระดูกสันหลังของเธอถูกทำลายด้วยรังสีของแร่เรเดียม ซึ่งเธอได้คลุกคลีกับมันมาเป็นเวลานาน แร่เรเดียมที่นับได้ว่า ได้ช่วยคนรอดชีวิตมาเป็นจำนวนมากนั้น กลับทำลายชีวิตของเธออย่างน่าเสียดาย
มารี คูรี
--------------------------------------------------------------------------------
มารี คูรี่ “ผู้ค้นพบแร่เรเดียม” นักวิทยาศาสตร์ที่รักการค้นคว้ายิ่งกว่าชีวิตของตัวเอง และเสียชีวิตลงด้วยรังสีของแร่เรเดียม ซึ่งเธอได้คลุกคลีกับมาเป็นเวลานาน แร่เรเดียมที่นับได้ว่าช่วยเหลือคนรอดชีวิตมาเป็นจำนวนมาก กลับทำลายชีวิตของเธอเองอย่างน่าเสียดาย
เธอเกิดในประเทศโปแลนด์ เมื่อปี ค.ศ. 1867 เป็นบุตรีของศาสตราจารย์วลาดิสลาฟ สโคลโดว์สกา ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิทยาศาสตร์และคำนวณ ซึ่งเธอได้รับการถ่ายทอดวิชาวิทยาศาสตร์จากบิดามาตั้งแต่เด็ก มารีสนใจในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพมาก จึงได้เดินทางไปศึกษายังมหาวิทยาลัยซอร์บอน ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
เมื่ออายุได้ 27 ปี เธอได้รู้จักกับปีแอร์ คูรี่ นักฟิสิกส์และเคมีชาวฝรั่งเศส และได้แต่งงานกันเมื่อปี 1895 ซึ่งปีแอร์มีส่วนช่วยในการค้นพบครั้งสำคัญนี้เป็นอย่างมาก มารีและสามี ได้ทำการทดลองค้นคว้าอย่างไม่หยุดยั้ง เธอแยกธาตุออกจากแร่พิทช์แเบลนด์ได้เป็นส่วนย่อย จนกระทั่งพบธาตุใหม่อีกธาตุหนึ่ง ในขั้นแรกเธอให้ชื่อว่า โปโลเนียม(Polonium) ซึ่งมีคุณสมบัติทางกัมมันตภาพรังสีอยู่มาก จนต่อมาเธอตัดสินใจเรียกธาตุใหม่นี้ว่า เรเดียม(Radium) ซึ่งมีคุณสมบัติสูงกว่ายูเรเนียมถึง 2 ล้าน 5 แสนเท่า เรเดียมสามารถแยกก๊าซหรืออากาศได้ และทำให้เกิดแสงเรือง มีพลังความร้อน ซ้ำยังเป็นโลหะที่มีอานุภาพทำลายชีวิตมนุษย์ได้อีกด้วย
ปิแอร์และมารี คูรี่ ได้รับการยกย่องในผลสำเร็จครั้งนี้อย่างมาก แม้แต่ในต่างประเทศ เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ของอังกฤษ ได้มอบเหรียญเดวี่ให้เป็นเกียรติแก่บุคคลทั้งคู่ มารี คูรี่ ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ในปี 1911
ในขณะที่บุคคลทั้งสองกำลังรุ่งโรจน์อยู่นั้น เหตุร้ายก็เกิดขึ้นในตอนเช้าของวันที่ 19 เมษายน 1906 ปีแอร์ คูรี่ สามีของเธอก็ประสบอุปัทวเหตุ และถึงแก่กรรมตายทันที ยังความเศร้าสลดใจมาให้แก่มารี คูรี่ อย่างสุดซึ้ง และเกือบจะทำให้เธอยอมทอดทิ้งผลงานต่างๆ ที่ทำค้างไว้ทั้งสิ้น แต่ในไม่ช้าเธอก็หวนกลับมาสู้การค้นคว้าผลงานของเธอต่อไป
ในปี ค.ศ.1934 มารี คูรี่ ก็ล้มเจ็บลง ด้วยลักษณะอาการของคนที่อ่อนเพลีย หมดแรงลงอย่างรวดเร็ว และถึงแก่กรรมในเช้าวันที่ 4 กรกฎาคม 1934 แพทย์ตรวจพบภายหลังว่า กระดูกสันหลังของเธอถูกทำลายด้วยรังสีของแร่เรเดียม ซึ่งเธอได้คลุกคลีกับมันมาเป็นเวลานาน แร่เรเดียมที่นับได้ว่า ได้ช่วยคนรอดชีวิตมาเป็นจำนวนมากนั้น กลับทำลายชีวิตของเธออย่างน่าเสียดาย
Max Planck:แมกซ์ ปลังก์
Max Planck
แมกซ์ ปลังก์
--------------------------------------------------------------------------------
แมกซ์ ปลังก์ เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1858 ในประเทศเยอรมัน เป็นนักฟิสิกส์ผู้มีชื่อเสียงอีกผู้หนึ่ง และเป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีควอนตัม อันเป็นทฤษฎีหนึ่งในสองทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่ได้ปฏิรูปความคิดทางฟิสิกส์ขนานใหญ่ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 (อีกทฤษฎีหนึ่งคือ ทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์) จากการค้นพบทฤษฎีควอนตัมนี่เอง ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1918 หลังจากนั้นเขาได้พยายามอย่างมากในการทำให้ทฤษฎีของเขาใช้ได้กับฟิสิกส์ยุคดั้งเดิมของนิวตันและแมกซ์เวลล์ แต่ไม่ได้รับผลสำเร็จ จนในที่สุดไอน์สไตน์เป็นผู้ขยายความคิดของควอนตัมให้ไกลออกไปจากที่ปลังก์ได้ทำไว้
แมกซ์ ปลังก์ ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1947 ขณะมีอายุได้ 89 ปี
แมกซ์ ปลังก์
--------------------------------------------------------------------------------
แมกซ์ ปลังก์ เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1858 ในประเทศเยอรมัน เป็นนักฟิสิกส์ผู้มีชื่อเสียงอีกผู้หนึ่ง และเป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีควอนตัม อันเป็นทฤษฎีหนึ่งในสองทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่ได้ปฏิรูปความคิดทางฟิสิกส์ขนานใหญ่ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 (อีกทฤษฎีหนึ่งคือ ทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์) จากการค้นพบทฤษฎีควอนตัมนี่เอง ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1918 หลังจากนั้นเขาได้พยายามอย่างมากในการทำให้ทฤษฎีของเขาใช้ได้กับฟิสิกส์ยุคดั้งเดิมของนิวตันและแมกซ์เวลล์ แต่ไม่ได้รับผลสำเร็จ จนในที่สุดไอน์สไตน์เป็นผู้ขยายความคิดของควอนตัมให้ไกลออกไปจากที่ปลังก์ได้ทำไว้
แมกซ์ ปลังก์ ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1947 ขณะมีอายุได้ 89 ปี
Michael Faraday:ไมเคิล ฟาราเดย์
Michael Faraday
ไมเคิล ฟาราเดย์
-----------------------------------------------------------------
ไมเคิล ฟาราเดย์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการศึกษาน้อยและยากจน มีชีวิตอยู่ในสลัม แต่รักในการอ่านหนังสือ และชอบไปฟังการบรรยายของนักวิทยาศาสตร์สำคัญๆเสมอ จนได้เป็นลูกศิษย์ของเซอร์ฮัมฟรีย์ เดวี
ไมเคิล ฟาราเดย์ เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน ปี ค.ศ.1791 เป็นบุตรของช่างเหล็กชาวอังกฤษ เนื่องจากฐานะไม่สู้ดี เขาจึงได้รับการศึกษาน้อย ยังไม่ทันเรียนสำเร็จก็ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน และใช้ชีวิตอยู่ในสลัมแห่งหนึ่งไม่มีวี่แววว่าจะเติบโตขึ้นเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงไปได้
เมื่อมีอายุได้ 13 ปี ไมเคิลก็ไปทำงานเป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์ และทำงานเย็บปกหนังสือในร้านขายหนังสือด้วย จากการงานนี้ทำให้เขามีใจรักหนังสือและหาโอกาสอ่านอยู่เสมอ โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับวิชาไฟฟ้าที่เขาสนใจที่สุด และก็ลองทำการทดลองดูด้วยตนเอง และหาโอกาสไปฟังการบรรยายของเซอร์ฮัมฟรีย์ เดวี ซึ่งเขาจะไปฟังทุกครั้ง และส่งจดหมายแสดงความประสงค์ที่จะขอไปเป็นเด็กรับใช้ของเซอร์ฮัมฟรีย์
เซอร์ฮัมฟรีย์ เดวีย์ เห็นชายหนุ่มมีความสนใจอย่างแรงกล้า จึงรับเข้าทำงานเป็นคนล้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในห้องเครื่องมือ ทำให้เขามีโอกาสศึกษาวิชาทางวิทยาศาสตร์จากเซอร์ฮัมฟรีย์ จนเกิดความชำนาญ จนได้รับหน้าที่เป็นผู้ช่วยและติดตามท่านเซอร์ไปในการเดินทางไปบรรยายทุกครั้ง
ในปี1821 ขณะที่ฟาราเดย์ได้ทำการทดลองเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้า เขาก็พบปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่กระแสไฟฟ้าเดินตามเส้นลวดแล้วทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กรอบๆเส้นลวด กระแสนี้เมื่อนำเอาเข็มแม่เหล็กไปวางไว้ใกล้ กระแสนี้ก็จะหมุนไปเรื่อยๆ ด้วยหลักอันนี้ ฟาราเดย์จึงทดลองประดิษฐ์ไดนาโมเล็กๆขึ้น อันเป็นต้นกำเนิดของไดนาโมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ไมเคิล ฟาราเดย์ ล้มป่วยเป็นโรคความจำเสื่อมในบั้นปลายของชีวิต และถึงแก่กรรมเมื่อ ปี ค.ศ. 1867 ที่แฮมป์ตันคอร์ท เมื่ออายุได้ 76 ปี
ไมเคิล ฟาราเดย์
-----------------------------------------------------------------
ไมเคิล ฟาราเดย์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการศึกษาน้อยและยากจน มีชีวิตอยู่ในสลัม แต่รักในการอ่านหนังสือ และชอบไปฟังการบรรยายของนักวิทยาศาสตร์สำคัญๆเสมอ จนได้เป็นลูกศิษย์ของเซอร์ฮัมฟรีย์ เดวี
ไมเคิล ฟาราเดย์ เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน ปี ค.ศ.1791 เป็นบุตรของช่างเหล็กชาวอังกฤษ เนื่องจากฐานะไม่สู้ดี เขาจึงได้รับการศึกษาน้อย ยังไม่ทันเรียนสำเร็จก็ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน และใช้ชีวิตอยู่ในสลัมแห่งหนึ่งไม่มีวี่แววว่าจะเติบโตขึ้นเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงไปได้
เมื่อมีอายุได้ 13 ปี ไมเคิลก็ไปทำงานเป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์ และทำงานเย็บปกหนังสือในร้านขายหนังสือด้วย จากการงานนี้ทำให้เขามีใจรักหนังสือและหาโอกาสอ่านอยู่เสมอ โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับวิชาไฟฟ้าที่เขาสนใจที่สุด และก็ลองทำการทดลองดูด้วยตนเอง และหาโอกาสไปฟังการบรรยายของเซอร์ฮัมฟรีย์ เดวี ซึ่งเขาจะไปฟังทุกครั้ง และส่งจดหมายแสดงความประสงค์ที่จะขอไปเป็นเด็กรับใช้ของเซอร์ฮัมฟรีย์
เซอร์ฮัมฟรีย์ เดวีย์ เห็นชายหนุ่มมีความสนใจอย่างแรงกล้า จึงรับเข้าทำงานเป็นคนล้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในห้องเครื่องมือ ทำให้เขามีโอกาสศึกษาวิชาทางวิทยาศาสตร์จากเซอร์ฮัมฟรีย์ จนเกิดความชำนาญ จนได้รับหน้าที่เป็นผู้ช่วยและติดตามท่านเซอร์ไปในการเดินทางไปบรรยายทุกครั้ง
ในปี1821 ขณะที่ฟาราเดย์ได้ทำการทดลองเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้า เขาก็พบปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่กระแสไฟฟ้าเดินตามเส้นลวดแล้วทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กรอบๆเส้นลวด กระแสนี้เมื่อนำเอาเข็มแม่เหล็กไปวางไว้ใกล้ กระแสนี้ก็จะหมุนไปเรื่อยๆ ด้วยหลักอันนี้ ฟาราเดย์จึงทดลองประดิษฐ์ไดนาโมเล็กๆขึ้น อันเป็นต้นกำเนิดของไดนาโมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ไมเคิล ฟาราเดย์ ล้มป่วยเป็นโรคความจำเสื่อมในบั้นปลายของชีวิต และถึงแก่กรรมเมื่อ ปี ค.ศ. 1867 ที่แฮมป์ตันคอร์ท เมื่ออายุได้ 76 ปี
Nicolas Copernicus:นิโคลาส โคเปอร์นิคัส
Nicolas Copernicus
นิโคลาส โคเปอร์นิคัส
-------------------------------------------------------
นิโคลาส โคเปอร์นิคัส เป็นนักดาราศาสตร์ผู้ศึกษาดาราศาสตร์ด้วยตาเปล่า เพราะกล้องโทรทรรศน์มีขึ้นภายหลังการค้นพบของเขาหลายปี กลางวันเขาจะเฝ้าดูดวงอาทิตย์ ส่วนกลางคืนเขาก็เฝ้าดูดาวผ่านเส้นเมอริเดียนที่เขาทำขึ้น เขาเป็นนักดาราศาสตร์ที่อาจหาญล้มล้างทฤษฎีของอริสโตเติล ซึ่งเป็นที่เชื่อถือกันมานานเป็นพันๆ ปี ว่าเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผล
นิโคลาส โคเปอร์นิคัส เกิดที่เมืองตูรอน ประเทศโปแลนด์ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1473 เขากำพร้าบิดาตั้งแต่อายุ 10 จึงอยู่ในความดูแลของลุงที่เป็นบิชอปแห่งเมืองเออร์มแลนด์ เขาได้ศึกษาในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ได้ปริญญาทั้งทางการแพทย์และการศาสนา แต่ก็มีความสนใจในการดาราศาสตร์เป็นอย่างมาก
คนในสมัยนั้นมีความเชื่อถือตามคำกล่าวของอริศโตเติลและปโตเลมี นักปราชญ์ชาวกรีกทางดาราศาสตร์ที่ว่า “โลกอยู่กับที่ และเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล โดยมีอาทิตย์และดวงดาวทุกดวงโคจรอยู่เป็นวงกลม” ซึ่งทฤษฎีเหล่านี้เชื่อถือต่อกันมานับเป็นพันปีๆ แต่สำหรับโคเปอร์นิคัสไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ แต่ไม่กล้าแสดงอะไรออกมา เพราะความคิดหรือความเชื่อใดๆ ที่ขัดแย้งกับความเชื่อของอริสโตเติล ก็จะขัดกับหลักของศาสนาด้วย การขัดแย้งกับหลักของศาสนาในสมัยนั้นย่อมเป็นผลร้ายกับตัวเอง และจะถูกลงโทษอย่างหนัก
จนกระทั่งในปี ค.ศ 1543 โคเปอร์นิคัสก็เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า De Revolutionibus Orbium Coelestium (เป็นหนังสือที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นรากฐานของดาราศาสตร์ปัจจุบัน) การเขียนหนังสือเล่มนี้เขาใช้เวลานานถึง 30 ปี จากการสังเกตและคำณวนในห้องทดลองนับร้อยๆ ครั้ง เขากล่าวว่า “ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์ของจักรวาล โดยมีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์” ซึ่งคำกล่าวนี้ของเขาต่อมาได้ถูกยืนยันว่าถูกต้องจากนักดาราศาสตร์รุ่นต่อมา คือกาลิเลโอนั่นเอง หนังสือเล่มนี้กว่าจะได้จัดพิมพ์ก็เป็นในช่วงปลายชีวิตของเขา หลังจากเขียนหนังสือเล่มนี้เสร็จได้เพียง2-3 อาทิตย์ เขาก็ล้มป่วยเป็นอัมพาต และถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ.1548
นิโคลาส โคเปอร์นิคัส
-------------------------------------------------------
นิโคลาส โคเปอร์นิคัส เป็นนักดาราศาสตร์ผู้ศึกษาดาราศาสตร์ด้วยตาเปล่า เพราะกล้องโทรทรรศน์มีขึ้นภายหลังการค้นพบของเขาหลายปี กลางวันเขาจะเฝ้าดูดวงอาทิตย์ ส่วนกลางคืนเขาก็เฝ้าดูดาวผ่านเส้นเมอริเดียนที่เขาทำขึ้น เขาเป็นนักดาราศาสตร์ที่อาจหาญล้มล้างทฤษฎีของอริสโตเติล ซึ่งเป็นที่เชื่อถือกันมานานเป็นพันๆ ปี ว่าเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผล
นิโคลาส โคเปอร์นิคัส เกิดที่เมืองตูรอน ประเทศโปแลนด์ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1473 เขากำพร้าบิดาตั้งแต่อายุ 10 จึงอยู่ในความดูแลของลุงที่เป็นบิชอปแห่งเมืองเออร์มแลนด์ เขาได้ศึกษาในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ได้ปริญญาทั้งทางการแพทย์และการศาสนา แต่ก็มีความสนใจในการดาราศาสตร์เป็นอย่างมาก
คนในสมัยนั้นมีความเชื่อถือตามคำกล่าวของอริศโตเติลและปโตเลมี นักปราชญ์ชาวกรีกทางดาราศาสตร์ที่ว่า “โลกอยู่กับที่ และเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล โดยมีอาทิตย์และดวงดาวทุกดวงโคจรอยู่เป็นวงกลม” ซึ่งทฤษฎีเหล่านี้เชื่อถือต่อกันมานับเป็นพันปีๆ แต่สำหรับโคเปอร์นิคัสไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ แต่ไม่กล้าแสดงอะไรออกมา เพราะความคิดหรือความเชื่อใดๆ ที่ขัดแย้งกับความเชื่อของอริสโตเติล ก็จะขัดกับหลักของศาสนาด้วย การขัดแย้งกับหลักของศาสนาในสมัยนั้นย่อมเป็นผลร้ายกับตัวเอง และจะถูกลงโทษอย่างหนัก
จนกระทั่งในปี ค.ศ 1543 โคเปอร์นิคัสก็เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า De Revolutionibus Orbium Coelestium (เป็นหนังสือที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นรากฐานของดาราศาสตร์ปัจจุบัน) การเขียนหนังสือเล่มนี้เขาใช้เวลานานถึง 30 ปี จากการสังเกตและคำณวนในห้องทดลองนับร้อยๆ ครั้ง เขากล่าวว่า “ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์ของจักรวาล โดยมีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์” ซึ่งคำกล่าวนี้ของเขาต่อมาได้ถูกยืนยันว่าถูกต้องจากนักดาราศาสตร์รุ่นต่อมา คือกาลิเลโอนั่นเอง หนังสือเล่มนี้กว่าจะได้จัดพิมพ์ก็เป็นในช่วงปลายชีวิตของเขา หลังจากเขียนหนังสือเล่มนี้เสร็จได้เพียง2-3 อาทิตย์ เขาก็ล้มป่วยเป็นอัมพาต และถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ.1548
Subscribe to:
Posts (Atom)