Wednesday, July 27, 2011

Charles Darwin ชาร์ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน

Charles Darwin
ชาร์ลส์ โรเบิร์ต  ดาร์วิน



---------------------------------------------------

ชาร์ลส์  โรเบิร์ต  ดาร์วิน  Charles Darwin เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1809 ในชูร์เบอรี่ ประเทศอังกฤษ บิดาของเขาเป็นนายแพทย์ ซึ่งต้องการให้ลูกชายดำเนินอาชีพทางด้านนี้เช่นกัน เขาจึงถูกส่งไปเรียนการแพทย์ที่เอดินเบอระ แต่ใจไม่ชอบทางนี้ ทั้งเคยหนีเรียนในชั่วโมงผ่าตัด เพราะทนเห็นเลือดไม่ได้ เรียนได้เพียงสองปีเขาจึงต้องลาออก  เขาชอบสะสมสิ่งของที่สนใจ เช่น แมลงที่ตายแล้ว(เขารู้สึกว่าเป็นความผิดที่ฆ่าพวกมัน) เปลือกหอย ไข่นก เหรียญต่างๆ และหินแปลกๆ จนภายหลังได้รับการยกย่องว่าเป็น นักธรรมชาติวิทยาผู้ยิ่งใหญ่ เขาเล่าในภายหลังว่า การสะสมของเขาเป็นการเตรียมให้เขาเป็นนักธรรมชาติวิทยา หลังลาออกจากการเรียนแพทย์บิดาของส่งไปที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เพื่อเรียนทางศาสนา และบวชเรียนเป็นพระ  ที่นี่เองเขาได้รับการแนะนำจากอาจารย์สอนพฤกษ์ศาสตร์คนหนึ่ง ให้ไปเรียนวิชาธรณีวิทยาเพิ่มเติม จึงเท่ากับเป็นการเพิ่มความรู้ทางด้านธรรมชาติวิทยาที่เขาสนใจให้กว้างมากขึ้น มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่งเขาได้เห็นแมลงที่หายากสองชนิดบนต้นไม้ เขาจับไว้ด้วยมือแต่ละข้างอย่างรวดเร็ว แต่แล้วก็หันไปเห็นตัวที่สามหายากกว่า เขานำแมลงตัวหนึ่งในมือใส่เข้าปากอย่างรวดเร็ว และยื่นมือออกไปจับตัวที่สาม แต่ตัวที่อยู่ในปากของเขาคายน้ำชนิดหนึ่งออกมาทำให้เขาปวดแสบปวดร้อนที่ลิ้นอย่างมากจนต้องรีบคายแมลงตัวนั้นออกมา วันหนึ่งกองทัพเรือได้เตรียมการออกสำรวจรอบโลก ซึ่งถือเป็นโชคที่เข้ามาสู่ชีวิตของเขา การสำรวจรอบโลกครั้งนี้จะเดินทางโดยทางเรือชื่อ บีเกิล(Beagle) เพื่อเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการรับรองของศาสตราจารย์เฮนสโลว ดาร์วินได้รับเชิญให้เป็นสำรวจทางธรรมชาติวิทยาไปกับเรือลำนี้ด้วย การสำรวจใช้เวลานานถึง 5 ปี ทำให้ได้มีโอกาสเปรียบเทียบสัตว์และพืชจากส่วนต่างๆ ของโลก  เขาได้เห็นสัตว์ที่มีถุงหน้าท้อง เช่น จิงโจ้ ในประเทศออสเตรเลีย และในนิวซีแลนด์ ซึ่งจะไม่พบในประเทศอื่น เมื่อการสำรวจมาถึงหมู่เกาะกาลาพากอสในอเมริกาใต้   ก็ได้พบสัตว์ชนิดต่างๆ และพบว่าแต่ละเกาะมีสัตว์เฉพาะชนิดซึ่งไม่พบในเกาะอื่นๆ สิ่งที่พบเห็นทำให้เขาคิดหนัก สำหรับเขาเหมือนกับว่า สัตว์เหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะพิเศษที่ช่วยให้มันมีชีวิตอยู่ได้ตามสภาพแวดล้อมนั้นๆ สัตว์ตัวใดไม่มีลักษณะเช่นนั้นก็ตายไปส่วนตัวใดที่อยู่ได้ก็ถ่ายทอดลักษณะนั้นๆ ไปสู่ลูกหลาน การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างช้าๆ ตลอดเวลาหลายพันปี โดยการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มจำนวนนี้คือสิ่งที่เรียกว่า วิวัฒนาการ  เขาได้เขียนผลงานชิ้นสำคัญของเขาเล่มแรกคือ เดอะ ซูโอโลจี ออฟ เดอะ บีเกิ้ลซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างดี แต่เขาก็ไม่เร่งร้อนที่จะเปิดเผยความคิดของในเรื่องการกำเนิดชีวิต เพราะกังวลอย่างมากว่าจะไปขัดแย้งกับหลักศาสนาคริสต์ที่ทุกคนเชื่อถือและยอมรับ   แต่ก็ได้มีนักธรรมชาติวิทยาอีกคนหนึ่ง ชื่อวอลเลซ มีความเห็นเช่นเดียวกัน   ได้เขียนจดหมายถึงเขาในปี 1858  กับได้ส่งเอกสารไปให้เขาด้วย และยังขอร้องให้เขาส่งความเห็นไปยังมหาวิทยาลัย  เพราะ มีความคิดเห็นเช่นเดียวกัน  แต่วอลเลซก็ยังไม่มั่นใจว่าจะเปิดเผยต่อสาธารณชนดีหรือไม่   เพราะเกรงว่าจะทำให้เกิดความโกลาหล  จากการได้แรงสนับสนุนจากนักธรรมชาติวิทยาของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์นี่เองจึงทำให้อีกหนึ่งปีถัดมา หนังสือที่มีชื่อเสียงของดาร์วินชื่อ ออน ดิ ออริจิน สเปซี่ บาย มีนส์ ออฟ เนเชอราล ซีเลคชั่นได้รับการตีพิมพ์  และก็เป็นเหมือนที่ดาร์วินคาดคิดไว้ไม่มีผิด   มันทำให้เกิดความโกลาหล สิ่งที่ดาร์วินพูดถึงคือบอกว่า โลกนี้มิได้ถูกสร้างขึ้นภายในหนึ่งอาทิตย์อย่างที่คัมภีร์ทางศาสนาคริสต์บอกไว้   แต่มันมีอายุยาวนานมากกว่านั้น  มันได้เปลี่ยนแปลงไปในเวลานี้ และยังเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ สิ่งมีชีวิตต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน และผิดแผกแตกต่างออกไปจากที่ตอนเริ่มเกิดขึ้นใหม่ๆ  มนุษย์พัฒนาขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตที่ธรรมดาที่สุด เรื่องราวของอาดัมและอีฟในสวนอีเคนคงเป็นจริงไปไม่ได้   ผู้คนคิดว่า ดาร์วินบอกว่ามนุษย์สืบเชื้อสายมาจากลิง เป็นความคิดที่น่าละอายอย่างยิ่ง หนังสือของดาร์วินถูกนำไปเผาทิ้งด้วยความโกรธและขยะแขยง ฝ่ายศาสนจักรพร้อมที่จะเผชิญกับดาร์วิน ในปี 1860 พวกเขาเรียกประชุมที่อ็อกซ์ฟอร์ด พวกพระและนักวิทยาศาสตร์พบกันที่นั่นเพื่อถกเถียงกันถึงต้นกำเนิดของสัตว์และต้นไม้สำหรับเรา การประชุมกันแบบนี้ฟังดูเป็นเรื่องหัวโบราณเหลือเกิด แต่ในสมัยนั้นถือเป็นเรื่องจริงจัง ถึงแม้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าความคิดเห็นของดาร์วินถูกต้อง และเรื่องราวของอาดัมกับอีฟเป็นแต่เพียงเรื่องเล่าขาน  ฝ่ายศาสนจักรยังคงมีอิทธิพลมากจนดาร์วินไม่เคยได้รับรางวัลเกียรติยศจากผลงานของเขาและจากการหมกมุ่นทำงานจนทำให้สุขภาพของเขาทรุดโทรมลง  แต่เขาก็ยังคงมุมานะทำงานต่อไปตามปณิธานที่ว่า เมื่อข้าพเจ้าต้องหยุดการสังเกต ข้าพเจ้าก็จะตายที่เขาพูดไว้ในวันที่ 17 เมษายน 1882 เขายังคงทำงานอยู่จนเสียชีวิตในอีกสองวันต่อมา.

No comments:

Post a Comment